บทคัดย่อ
ผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่น (Alcohol’s Harm to Others) เป็นมิติหนึ่งในผลกระทบทั้งหมดที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ความสนใจผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นนอกจากผู้ดื่ม ซึ่งมักมีลักษณะตามรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดื่มกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น กรณีผู้ดื่มเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือคนแปลกหน้า ผลกระทบมีหลากหลายระดับ ครอบคลุมตั้งแต่ความรุนแรงในระดับเล็กน้อย เช่น การรู้สึกรำคาญใจ จนถึงผลกระทบที่รุนแรงมาก เช่น การถูกทำร้ายเสียชีวิต ข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่นของประเทศไทย มีการศึกษาและรวบรวมอยู่ใน ๓ ลักษณะ ได้แก่ การสำรวจผลกระทบในประชากร การรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาต้นทุนทางสังคม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวยังมีข้อจำกัดอยู่มากทั้งในประเด็นขอบเขตของปัญหาและวิธีการศึกษา โดยมีเฉพาะบางประเด็นที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ความรุนแรงในครอบครัว หรือการนำเสนอเป็นสัดส่วนของเหตุการณ์ที่มีแอลกอฮอล์เกี่ยวข้อง จึงยังไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ของผลกระทบของการดื่มต่อผู้อื่นในภาพรวมอย่างแท้จริง แต่มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจศึกษาต่ออีกหลายประเด็น เช่น ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตร่างกายและจิตใจ หรือทรัพย์สินที่เสียหายของคนรอบข้างผู้ดื่ม ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนจากการดื่มของคนในครอบครัว ผลกระทบในสถานที่ทำงานต่อเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย ข้อมูลเชิงประจักษ์ของสถานการณ์และความรุนแรงของผลกระทบเชิงลบของแอลกอฮอล์ที่เกิดต่อสาธารณะนี้ถือว่ามีความสำคัญและประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนานโยบายควบคุมแอลกอฮอล์ การติดตามผล รวมถึงการสร้างตระหนักต่อสังคมของประเทศได้
บทคัดย่อ
Study on Alcohol’s Harm to Others (HTO) is an innovative paradigm for revisiting the whole range
of alcohol-related problems. It comprehensively focuses on the negative consequences of alcohol drinking
to non-drinkers. Patterns of relationship between drinker and non-drinkers play a major role for this
harm. Problems emerged from drinking by family member, relative, friend, colleague or stranger in
society can be vastly different in terms of magnitude and pattern. The range of HTO covers from the less
severe such as mere annoyance to the most severe such as assault and death. HTO-related national data
were only available from social cost study, population survey and data of service system such as the
hospital, the police and court cases. But due to methodological or conceptual constraints, the data might
not best reflect the real situation. While Thai society may recognize alcohol-related traffic accident and
domestic violence as HTO, other problems have been largely ignored. Other HTO issues have not been
covered such as quality of life, impact on physical, mental health and belonging of people surrounding
drinker, impact to children and youth from parents and caretakers as well as impact on co-workers in
workplace. Comprehensive HTO data could demonstrate panoramic magnitude and severity of negative
impacts to the public, support alcohol policy development, and raise public awareness.