บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาทบทวนค่าความชุกของการสูญเสียสายตาโดยแบ่งระดับความรุนแรงตามตัวชี้วัดคือภาวะตาบอดและสายตาเลือนราง ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจระดับประเทศในคนไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๒ จำนวน ๓ แหล่ง คือ ๑) การสำรวจภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๐, ๒) การสำรวจความพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐, ๓) การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๒ และทบทวนการศึกษาของต่างประเทศจากฐานข้อมูลงานวิจัยทางการแพทย์ เนื่องจากคำจำกัดความของการสูญเสียสายตาในแต่ละการสำรวจแตกต่างกัน พบว่าถ้าใช้ค่าความชุกการสูญเสียสายตาจากแหล่งข้อมูลการสำรวจความพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ (สูญเสียสายตาระดับปานกลางร้อยละ 0.80 ระดับรุนแรง 0.063) จะมีค่าต่ำกว่าการสำรวจภาวะตาบอดและสายตาเลือนราง พ.ศ. ๒๕๔๙ (สูญเสียสายตาระดับปานกลางร้อยละ 3.69 ระดับรุนแรง 2.04) ส่วนจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๒ พบว่าสูญเสียสายตาระดับปานกลางร้อยละ 30.2 และระดับรุนแรง 3.4 ซึ่งมากกว่าการสำรวจจาก ๒ แหล่งข้อมูลแรก และทุกข้อมูลยืนยันว่าการสูญเสียสายตาในระดับปานกลาง และรุนแรง จะมีค่าเพิ่มมากขึ้นในช่วงอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไปและมีค่าการสูญเสียสายตาในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ค่าความชุกของการสูญเสียสายตานี้พบว่า ในประเทศที่มีความเป็นอยู่หรือฐานะทางเศรษฐกิจดีมีรายได้สูงจะมีค่าความชุกของการสูญเสียสายตาโดยใช้ภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางเป็นตัวชี้วัด น้อยกว่าประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลางหรือระดับต่ำ
บทคัดย่อ
This study reviewed the prevalence of moderate and severe visual loss, as indicated by the World
Health Organization’s definition of low vision and blindness, in the Thai population. Three data sources
from national surveys of the Thai population during 2006-2009, namely 1) the forth National Survey of
Blindness and Low Vision in Thailand during 2006-2007; 2) the 2007 Disability Survey; and 3) the fourth
Health Examination Survey in Thai Population in 2008-2009, were reviewed. In addition, reviews of
visual loss in other countries were conducted using structured search terms in PUBMED. Due to differences
in the definition in each Thai survey, the prevalence of visual loss revealed varied results. The 2007 Disability Survey showed visual loss prevalence (moderate: 0.80%; severe: 0.063%) was lower than the
2006-2007 National Survey of Blindness and Low Vision (moderate: 3.69%; severe: 2.04%). The prevalence
of moderate and severe visual loss in the 2008-2009 National Health Examination Survey was 30.2% and
3.4 respectively. In conclusion, every study revealed that prevalence of visual loss in Thais increased with
age and was greater in female. It is also found that high-income countries have lower visual loss, as
indicated by prevalence of blindness and low vision, than medium- or low-income countries.