บทคัดย่อ
การศึกษาประเมินผลการดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงพยาบาลร้องกวางเพื่อประกอบการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและโรงพยาบาล โดยทำการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบสภาพคล่องทางการเงิน คุณภาพบริการการรักษาพยาบาล และความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ก่อนและหลังการดำเนินงาน จากการศึกษาพบว่าสภาพคล่องทางการเงินเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80.82 จากก่อนการดำเนินงานมีค่าเท่ากับ 0.99 และหลังการดำเนินงานมีค่าเท่ากับ 1.80 โดยลดค่าใช้จ่ายลง คือ ค่าสาธารณูปโภคลดลง ร้อยละ 7.64 ค่าวัสดุทางชันสูตรลดลง ร้อยละ 0.08 ค่ายาที่ใช้รักษาตามอาการลดลง ร้อยละ 28.63 ค่าวัสดุทั่วไปลดลง ร้อยละ 10.42 ประสิทธิผลการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยคือ อัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคหรืออาการเดิมภายใน 7 วัน ลดลงจากร้อยละ 2.00 เป็นร้อยละ 0.01 อัตราการกลับเข้านอนในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน ลดลงจากร้อยละ 3.16 เป็นร้อยละ 3.05 อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการผู้ป่วยนอก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.62 เป็นร้อยละ 95.49 อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการผู้ป่วยใน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 87.61 เป็นร้อยละ 100 และอัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่เพิ่มจากร้อยละ 74.75 เป็นร้อยละ 75.31 สรุปว่าการดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงพยาบาลร้องกวางทำให้สภาพคล่องทางการเงินเพิ่มขึ้นโดยไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลของการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่
บทคัดย่อ
The purpose of this study was to consider the result of the management of
Rongkwang Hospital in “sufficient economy.” The authors planned continuous management
and changed the way of creating suitable benefits for consumers, care-givers and
the hospital. This retrospective study compared financial liquidity, the quality of healthcare
services, the contentment of officers with the “sufficient economy” theory both premanagement
and post-management. Result of the study indicated that the average in-crease in financial liquidity was 80.82 percnt, which in pre-value and post-value measure
were 0.99 and 1.80, respectively. The decreased expenses included the public utility’s
value at 7.64, investigated material’s value at 0.08, and supportive medicine’s value at
28.63. The value of other materials was 10.42 when the quality service of health care in
the remedication rate for seven days decreased from 2 to 0.01 percent, the readmission
rate decreased in 28 days from 3.16 to 3.05 percent, the OPD consumer contentment rate
increased from 84.62 to 95.49 percent, the IPD consumer contentment rate increased
from 87.61 to 100 percent and the officer contentment rate increased from 74.75 to 75.31
percent. In conclusion, the result shows that management, in utilizing the principle of a
“sufficient economy” in Rongkwang Hospital, increased its financial liquidity without
any adverse effect on the quality of health-care services and the satisfaction of the officers
concerned.