บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาโดยการสำรวจศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ประชากรตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ทั้งชายและหญิงที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลเขวาไร่ จำนวน 248 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มจาก 18 หมู่บ้าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสมพันธ์ของเพียร์สันในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตตำบลเขวาไร่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การปฏิบัติด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย สุขนิสัยประจำวัน การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การจัดการกับความเครียดและความรับผิดชอบต่อสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตตำบลเขวาไร่โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยและสังคมอยู่ในระดับน้อย ส่วนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอนามัย นันทนาการและความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเองอยู่ในระดับสูง พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนได้ โดยการดำเนินงานควรทำในลักษณะของเครือข่ายสุขภาพ อาศัยการร่วมมือกันของเจ้าหน้าที่ทั้งจากโรงพยาบาล สถานีอนามัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในภาพรวมให้ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ ไม่ว่าเป็นในด้านของสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพอนามัย
บทคัดย่อ
The study involved descriptive research using the survey method to study the healthpromoting
behavior, quality of life and relationship between health-promoting behavior
and quality of life of the elderly in Khowrai subdistrict. It was conducted in the period
February-May 2007. Data were collected by interviewing the sample population using
modified questionnaires of Kwanjai Tantiwattasatien, Pechara Intarapanich and
Daowrueng Khommuang puk, which utilized alpha coefficient for accuracy. Samples
included the elderly over 60 years old. Both men and women subjects lived in Khowrai
subdistrict; 248 persons were selected by cluster sampling from 18 villages. Data were
analyzed by descriptive statistics, mean, percentage, standard diviation and Pearson’s
coefficient for assessing the relationship between health-promoting behavior and quality
of life.
The findings were as follows: health-promoting behavior regarding nutrition, exercise,
daily hygiene, sociability, stress management, and health responsibility were medium
grade; quality of life was high grade by if considered in detail the quality of life in
terms of residence and social interaction were low level, but the quality of life in health,
recreation and self-assessment were high. Health-promoting behavior relates significantly
to quality of life. The results can be used for policy and strategic planning for health
promoting innovation for the elderly by cooperating with health personnel and subdistrict
organizations to solve social, economic and health problem in the elderly.