บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำฟันเทียมตามโครงการฟันเทียมพระราชทาน ในแผนกทันตกรรม โรงพยาบาลสิชล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีงบประมาณ 2548-2550 หลังจากที่ได้มีการคิดค้นประดิษฐ์ตู้ควบคุมการฟุ้งกระจายเศษอะคริย์ลิกในขั้นตอนการกรอตกแต่งงานฟันเทียมตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ได้เก็บข้อมูลโดยการเปรียบเทียบผลงานการทำฟันเทียมกับเป้าหมายเป็นร้อยละ หาค่าเฉลี่ยขีดความสามารถที่ใส่ฟันเทียมได้สำเร็จต่อทันตแพทย์ 1 คน ประเมินประสิทธิภาพควบคุมการฟุ้งกระจายของเศษอะคริย์ลิกตามเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนด ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการต่อการทำฟันเทียมโดยการสัมภาษณ์ความพึงพอใจเป็น 5 ระดับใน 7 มิติ ใช้เทคนิคการเก็บคะแนนแบบไลเคิร์ท. วิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) versions 10.0 หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่าในระยะ 3 ปีของการดำเนินงาน ผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันเทียม 433 ราย เปรียบเทียบผลงาน 3 ปีกับเป้าหมายใน พ.ศ. 2548, 2549, 2550 คิดเป็นร้อยละ 100, 98.2, 154.4 ขีดความสามารถทำฟันเทียมของทันตแพทย์ 1 คน คิดเป็น 33.3, 18.3, 69.5 คน ตามลำดับ, ประสิทธิภาพการควบคุมการฟุ้งกระจายของเศยอะคริย์ลิกที่ 2, 4, 6, 8, 16, 24 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 100 ตามเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนด, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ พ.ศ. 2549 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก, พ.ศ. 2550 อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ความพึงพอใจของผู้ให้บริการ (ทันตแพทย์) พ.ศ. 2549 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก พ.ศ. 2550 อยู่ในระดับมาก ผลการดำเนินงานก่อนและหลังการใช้ตู้ควบคุมการฟุ้งกระจายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำฟันเทียม มีความแตกต่างอย่างมากในเชิงปริมาณและคุณภาพชีวิตทั้งในส่วนของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
บทคัดย่อ
The purpose of this study was to determine the effectiveness of the full denture
process by the cabinet control dispersion of acrylic resin in Sichon District Hospital from
2005 to 2007. According to the Royal Denture Project, the number of elderly Thais who
want full dentures is increasing and of acrylic resin denture products is increasing. Many problems are caused by acrylic resin contamination, such as health hazards, environmental
damage, bad odor and dust. New equipment for making full dentures uses local
materials. With regard to the production of full dentures, the level of patient and dentist
satisfaction before and after the use of this equipment was measured. The data were
collected using a questionnaire which assessed the patients’ and dentists’ satisfaction by
using the Likert scale. The data were analyzed using the SPSS program Version 10. The
study showed that the total number of elderly persons who received complete dentures
during the three-year period was 433 people and the efficiency of the dentists were 100,
98.2 and 154.4 percent respectively. The results of the dispersion acrylic resin control rate
were 100 percent in the 2nd, 4th, 6th, 8th, 16th, and 24th weeks of data collection. The
findings also showed that the patients were highly satisfied with this approach when
compared with the previous procedure. Moreover, the results showed that dentists were
also satisfied.
This study demonstrated that the effectiveness of the full denture process was significantly
increased by using this cabinet for dispersion of acrylic resin control.