• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ประสิทธิผลของเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลแบบกล่องที่พัฒนาต้นแบบโดยเนคเทค และต้นทุนของการคัดกรองการได้ยินและบริการเครื่องช่วยฟังในผู้สูงอายุ

ขวัญชนก ยิ้มแต้; พนิดา ธนาวิรัตนานิจ; พรเทพ เกษมศิริ; พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา; อนุกูล น้อยไม้; พิภพ สิริเพาประดิษฐ์; ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์; สุภวรรณ เลาหศิริวงศ์; ปฤษฐพร กิ่งแก้ว;
วันที่: 2557-09
บทคัดย่อ
ความพิการทางการได้ยินเป็นความพิการที่พบบ่อยและถูกละเลยได้ง่าย เนื่องจากเป็นความพิการที่ซ่อนเร้นมองไม่เห็นจากภายนอก แม้ว่าผู้พิการทางการได้ยินจะมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลและได้รับเครื่องช่วยฟังฟรีจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่พบว่าผู้พิการทางการได้ยินส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงบริการตามสิทธิได้ เนื่องจากนักแก้ไขการได้ยินมีจำนวนน้อย การประเมินและลองใส่เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายใช้เวลานาน ผู้ป่วยที่มีระดับการได้ยินเท่ากัน ก็มีการตอบสนองต่อการฟังเสียงจากเครื่องช่วยฟังชนิดและรุ่นเดียวกันได้ไม่เหมือนกัน ทำให้ระบบบริหารจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังค่อนข้างยุ่งยาก ระบบติดตามการใช้เครื่องช่วยฟังยังไม่มีประสิทธิภาพ เครื่องช่วยฟังส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ถ่านที่ใช้กับเครื่องช่วยฟังเป็นชนิดพิเศษ หาซื้อยากและมีราคาแพง การพัฒนาเครื่องช่วยฟังที่ได้มาตรฐาน ราคาถูก สามารถผลิตขึ้นเองได้ภายในประเทศ และมีค่าบำรุงรักษาต่ำ จะช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้พัฒนาเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอลแบบกล่องจากรุ่นแรกที่ได้รับการทดสอบมาเป็นรุ่นที่สอง ซึ่งใช้เป็นต้นแบบสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทดสอบประสิทธิผลและประสิทธิภาพของเครื่องช่วยฟัง P02 เปรียบเทียบกับเครื่องช่วยฟังที่มีจำหน่ายในประเทศ ความพึงพอใช้ของผู้ใช้เครื่องช่วยฟัง P02 ในการใช้งานในชีวิตประจำวันรวมถึงการทดสอบความทนทานต่อการใช้งาน อัตราการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานอย่างสม่ำเสมอคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการใช้เครื่องช่วยฟัง ประกอบกับระบบการประเมินและติดตามการเบิกจ่ายเครื่องช่วยฟังยังมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก ผู้พิการทางการได้ยินเมื่อเริ่มใส่เครื่องช่วยฟังมักจะมีปัญหาในการปรับตัวกับเสียงที่ได้ยินจากเครื่องช่วยฟัง อาจทำให้มีการใช้การอย่างไม่ต่อเนื่องหรือแม้กระทั่งไม่ใช้เลย ซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปอย่างไม่จำเป็น จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาระบบการประเมินและติดตามการใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และผู้ให้บริการสามารถให้คำแนะนำการใช้งานของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงต้นทุนการบริการและการใช้ทรัพยากรในการจัดบริการระบบการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้พิการทางการได้ยินในชุมชนเพื่อให้เกิดข้อมูลด้านภาระงบประมาณและข้อมูลด้านความต้องการของบุคลากร ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายหากต้องการให้มีระบบบริการนี้
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2141.pdf
ขนาด: 1.872Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 9
ปีพุทธศักราชนี้: 6
รวมทั้งหมด: 172
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV