บทคัดย่อ
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้กำหนดให้มีหลักเกณฑ์การตรวจคัดแยกผู้ป่วยตามลำดับความเร่งด่วนเป็น 5 ระดับ ซึ่งเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดา (Canadian Triage and Acuity Scale; CTAS) เป็นระบบคัดแยกผู้ป่วยตามความเร่งด่วน 5 ระดับที่มีความถูกต้องแม่นยำ น่าเชื่อถือและใช้กันอย่างแพร่หลายระบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่พบการศึกษาในประเทศไทยที่ศึกษาว่าเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดาทำนายความรุนแรงของผู้ป่วยในระยะแรกได้อย่างถูกต้อง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วยตามเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดากับผลลัพธ์ของผู้ป่วยในระยะแรก ได้แก่ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง อัตราการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตและหัตถการช่วยชีวิตที่กระทำต่อผู้ป่วยแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และได้รับการคัดแยกทั้งหมดในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาได้รับการคัดแยกตามเกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดาทั้งหมด 2,508 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 5 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในความเร่งด่วนระดับ I และ III จำนวน 4 ราย (8.16 %) และ 1 ราย (0.12 %) ตามลำดับ ผู้ป่วยได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตจำนวน 84 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระดับ I, II, III และ IV จำนวน 18 ราย (36.73 %), 47 ราย (17.41 %), 17 ราย (1.97 %) และ 2 ราย (0.17 %) ตามลำดับ และผู้ป่วยได้รับการทำหัตถการช่วยชีวิตทั้งหมด 115 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระดับ I, II, และ III จำนวน 29 ราย (59.18 %), 59 ราย (21.85 %) และ 27 ราย (3.12 %) ตามลำดับ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละระดับความเร่งด่วน (p-value < 0.001) ทั้งอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง อัตราการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต และอัตราการทำหัตถการช่วยชีวิตแก่ผู้ป่วยแผนกฉุกเฉิน สรุป เกณฑ์คัดแยกและมาตรความเฉียบพลันแคนาดามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลลัพธ์ของผู้ป่วยในระยะแรก นอกจากนี้การคัดแยกดังกล่าวยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้ป่วยแผนกฉุกเฉินเป็น 5 ระดับความเร่งด่วนได้อย่างเหมาะสม
บทคัดย่อ
The National Institute for Emergency Medicine specifies a criteria for triaging patients into five
levels according to the urgency of treatment needed. Canadian Triage and Acuity Scale (CTAS) is a five-level triage tool used worldwide that can rapidly assess patients, and is proved to be accurate and reliable.
However, no study in Thailand has confirmed CTAS as an initial predictor of the severity of patients. This
research aim study the correlation between CTAS level and early outcome of patients, including; 24-hour
mortality rate, intensive care unit (ICU) admission rate and rate of immediate life-saving interventions in
emergency department. Researchers conducted a retrospective observational study and reviewed medical
records from all patients presented to the ED and were triaged by using CTAS in August 2013. There
were 2,508 patients who were triaged by using CTAS and met the inclusion criteria. Five patients died in
24 hours after ED visit and CTAS levels were I and III in 4 (8.16 %) and 1 (0.12 %) patients, respectively. 84
patients were admitted to the ICU and theirs CTAS levels were ranged from I to IV in 18 (36.73 %), 47
(17.41 %), 17 (1.97 %) and 2 (0.17 %) patients, respectively. 115 of the patients received immediate lifesaving
interventions following their arrival and CTAS levels for these patients were from I to III in 29
(59.18 %), 59 (21.85 %) and 27 (3.12 %) patients, respectively. The differences were statistically significant
between each CTAS levels and each early outcomes of patients (p-value < 0.001), so the higher the patient’
s triage level, the higher the severity. Conclusion: Canadian Triage and Acuity Scale (CTAS) has a significant
correlation with early outcomes of patients, including 24-hour mortality rate, ICU admission rate and
rate of immediate life-saving intervention. Therefore, CTAS can be used as an effective five-level ED
triage tool.