บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุไทยเปรียบเทียบระหว่างปี 2552 กับปี 2556 โดยใช้ฐานข้อมูลดิบ (raw data) ในการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ (สอส.) ปี 2552 และ ปี 2556 ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประกอบด้วยข้อมูลครัวเรือนปี 2552 จำนวน 26,500 ครัวเรือน และปี 2556 จำนวน 27,960 ครัวเรือน ประมวลผลข้อมูลโดยถ่วงน้ำหนักข้อมูล (Weight) เพื่อให้ได้ค่าประมาณของประชากรทั้งหมดในกลุ่มผู้สูงอายุ มีสิทธิสวัสดิการร้อยละ 97.3-97.9 เป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 79.3 และ 80.9 ตามลำดับ พบอัตราการใช้บริการทันตกรรมคิดเป็นร้อยละ 8.6-8.7 และใช้บริการใส่ฟันเทียมในสัดส่วนร้อยละ 15.6 ในปี 2552 เพิ่มเป็นร้อยละ 15.8 ในปี 2556 ส่วนใหญ่ใช้บริการฟันเทียมที่คลินิกเอกชนร้อยละ 38.2-40.3 ซึ่งเป็นการใช้บริการโดยไม่ใช้สิทธิรักษาพยาบาลในสัดส่วนร้อยละ 57.6 ในปี 2552 และลดลงเป็นร้อยละ 52.1 ในปี 2556 ทั้งนี้กลุ่มผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครมีทั้งกลุ่มรายได้สูงและตํ่า และกลุ่มที่มีรายได้สูงนอกเขตเทศบาลมีอัตราใช้บริการฟันเทียมปี 2556 สูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้ตํ่านอกเขตเทศบาล 2.8 เท่า แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการฟันเทียมของผู้สูงอายุอย่างชัดเจน
บทคัดย่อ
This study is aimed at reviewing how elderly people in Thailand access to dental prosthesis service
comparing 2009 with 2013. Primary data was derived from two major household surveys conducted by
National Statistical Bureau in 2009 and 2013; health and welfare survey, and economic and social status
survey (n = 26,500 households in 2009 and 27,960 households in 2013). Extrapolation to total population
by weight was then calculated.
It was found that proportion of ageing population covered by health insurance in 2009 and 2013 was
97.3 and 97.9%, of which national health insurance scheme contributed 79.3% and 80.9% respectively.
Among them, dental health care utilization was low as 8.2-8.7%. Additionally, the percentage of accessing
to dental prosthesis services increased from 15.6% in 2009 to 15.8% in 2013. Most of the elderly (38.2-
40.3%) seeked dental prosthesis through private services. While a percentage of the omission of health
insurance scheme prevailed at 57.6 in 2009, reduced to 52.1 in 2013. On the other hand, utilization of
dental prosthesis among the elderly with high and low income in Bangkok and municipality areas in 2013
was found 2.8 times higher than the elderly with low income in rural areas. This viewed obviously the
inequity in access to dental prosthesis among elderly people in Thailand.