บทคัดย่อ
ในปัจจุบันพบว่าการนำแนวทางการป้องกันการหกล้มในชุมชนสู่การปฏิบัติจริงในเวชปฏิบัตินั้นยังไม่ได้ผลตามเป้าหมายเท่าที่ควร ปัจจัยหนึ่งเป็นเพราะความเชื่อและการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญต่อการนำแนวทางการป้องกันการหกล้มในชุมชุมสู่เวชปฏิบัติ การจัดทำสื่อเผยแพร่และการสร้างทีมในชุมชนเป็นยุทธวิธีหนึ่งที่ได้ผลในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเชิงบวกและเพิ่มความตระหนักรู้ทางสุขภาพ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งปริมาณและคุณภาพเปรียบเทียบทัศนคติและความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ดูแลก่อนและหลังการได้รับสื่อและคำแนะนำจากอาสาสมัครหมู่บ้านในชุมชน การศึกษาเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ 144 คน และสมาชิกในครอบครัว 100 คน ก่อนและหลังกระบวนการอบรมอาสาสมัครหมู่บ้านและให้อาสาสมัครไปให้คำแนะนำและเผยแพร่สื่อแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแล สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ ทำโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม (n total = 38: n1 = 8, n2 = 15, n3 = 15) ทำภายหลังการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อตรวจสอบข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิเคราะห์พบว่า ความตระหนักรู้และทัศนคติภายหลังรับคำแนะนำจากอาสาสมัครหมู่บ้านและได้รับสื่อ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในหัวข้อ ความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายและการป้องกันการหกล้ม สรุปได้ว่า กระบวนการผลิตสื่อส่งเสริมสุขภาพที่เน้นการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอความเสื่อมวัยและแทรกเนื้อหาการป้องกันการหกล้ม รวมถึง การเผยแพร่สื่อและให้คำแนะนำผู้สูงอายุในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นยุทธวิธีหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้และทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการหกล้มได้
บทคัดย่อ
Despite substantial evidence about the benefits of fall prevention interventions, they have not been
well incorporated into primary care practice. Raising community awareness and attitude toward fall prevention
program is one of the effective strategies to translate the program into practice. The elderly patients need to be aware of the potentially deteriorating effects of their chronic diseases and falling, and
are prepared to manage to reduce fall risk. Educating the elderly and their family on fall prevention by
using audiovisual media and involving community volunteers can be key to successful intervention. This
embedded mixed methods study aimed to compare attitudes and awareness on fall prevention among
community-dwelling elderly (n =144) and their family (n = 100) before and after an educational program
that employed audiovisual media and involved community volunteers. A pre-test/post-test only design,
with structured questionnaires measuring attitudes and awareness on fall prevention, was used for the
quantitative arm. Focus groups were used to interview three groups (ntotal = 38: n1 = 8, n2 = 15, n3 = 15), and
these interviews generated narratives regarding the educational program for the qualitative arm. Quantitative
results showed that the attitudes and awareness scores were statistically higher after the educational
program. Statistically significant areas included exercise and fall prevention. In summary, educating
the elderly and their family by using audiovisual media and involving community volunteers was
found to be one of the important steps toward translating fall prevention guideline to Thai’s community
successfully.