บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้มเหลวในการบริหารยาเบาหวานของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 รวม 230 ราย ประเมินการใช้ยาโดยให้ผู้ป่วยดูตัวอย่างยา พร้อมบอกวิธีการใช้ยาในครั้งที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้มเหลวในการบริหารยาเบาหวานของผู้ป่วยโดยใช้ multiple logistic regression analysis โดยนำเสนอเป็นค่า adjusted odds ratio (aOR) และ 95% confidence interval (CI) ของ aOR
จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 64.8 ของผู้ป่วยทั้งหมดไม่สามารถบริหารยาเบาหวาน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้มเหลวในการบริหารยาเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิเคราะห์ด้วยmultiple logistic regression คือ ศาสนาอิสลาม (aOR 2.68, 95% CI 1.10, 6.48) การบริหารยาเอง (aOR 8.41, 95% CI 1.13, 62.72) การใช้ยาเม็ดร่วมกับ Insulin (aOR 7.16, 95% CI 1.35, 38.13) การใช้ยาวันละ 2 ครั้ง (aOR 4.44, 95% CI 1.51, 13.06) การใช้ยาวันละ 3 ครั้ง (aOR 13.80, 95% CI 3.19, 59.78) และจำนวนเม็ดยาที่รับประทานในแต่ละวัน (aOR 2.28, 95% CI 1.16, 4.51)
ปัญหาความล้มเหลวในการบริหารยาเบาหวานพบมากในผู้ป่วยที่ศึกษาซึ่งต้องรีบดำเนินการแก้ไข การประเมินและปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาให้ถูกต้อง เหมาะสม กับผู้ป่วยแต่ละรายเป็นสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามและบริหารยาด้วยตนเอง
บทคัดย่อ
This study was conducted to determine the prevalence of medication non-adherence and identify
factors associated with medication non-adherence among 230 patients with type 2 diabetes mellitus in
Nongjik Hospital, Pattani province from August 2013 to December 2013. Medication adherence was assessed
by self-report patients in term of taking medications. Frequency, percentage, mean and standard
deviation were used to present the analysis results. Multiple logistic regression analysis was used to determine
factors associated with medication non-adherence. Adjusted odds ratios (aOR) and their 95%
confidence interval (CI) were used to present the strength of association.
Of the 230 study patients, 64.8% had medication non-adherence. Factors associated with medication
non-adherence included religion (aOR 2.68, 95% CI 1.10, 6.48) self- management (aOR 8.41, 95% CI 1.13,
62.72) combination of oral anti-diabetic drug and Insulin (aOR 7.16, 95% CI 1.35, 38.13) frequency twice
daily (aOR 4.44, 95% CI 1.51, 13.06) frequency three times daily (aOR 13.80, 95% CI 3.19, 59.78) and number
of tablets per day (aOR 2.28, 95% CI 1.16, 4.51)
The high prevalence of medication non-adherence among the study group needs corrective measures.
These may include assessment of medication adherence and modify treatment for each case especially
in Muslim patient with medication adherence.