บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้บริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงาน (กลุ่มอายุ 25-59 ปี) ในประเทศไทยปี 2556 โดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2556 จำนวน 27,960 ครัวเรือน ประมวลผลข้อมูลโดยถ่วงน้ำหนักข้อมูล (Weight) เพื่อให้ได้ค่าประมาณของประชากรทั้งหมด
กลุ่มวัยทำงานไทยมีหลักประกันสุขภาพรวมร้อยละ 98.7 จำแนกเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 64.8 สัดส่วนของผู้ใช้บริการทันตกรรมในกลุ่มวัยทำงานในรอบปีเท่ากับร้อยละ 9.3 เมื่อจำแนกตามพื้นที่พบว่า กลุ่มรายได้สูงในกรุงเทพมหานครที่มีสิทธิข้าราชการใช้บริการสูงสุดร้อยละ 22.5 สูงกว่ากลุ่มที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) ที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลและนอกเขตเทศบาลทุกกลุ่มรายได้ซึ่งใช้บริการเพียงร้อยละ 7.0-8.5 เท่ากับ 2.6 – 3.2 เท่า การใช้บริการทันตกรรมของกลุ่มที่มีสิทธิสวัสดิการ พบว่า ไม่ใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ 45 ในกลุ่มนี้มีสัดส่วนกลุ่มสิทธิหลักประกันสุขภาพกว่าร้อยละ 51.7 ซึ่งกลุ่ม UC นี้จะใช้บริการที่คลินิกเอกชนสูงถึงร้อยละ 84.4 แสดงให้เห็นถึงปัญหาการเข้าถึงบริการทันตกรรมของกลุ่มสิทธิ UC ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนามาตรการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการในหน่วยบริการของภาครัฐให้มีคุณภาพมากขึ้น ด้วยกลไกการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ
The objective of this study was to analyze the utilization of oral health care among Thai working age
population by using database of the Health and Welfare Surveys conducted by the National Statistical
Office in 2013. The surveys covered 27,960 households nationwide. Data were then weighted to represent
the total population. It was found that in overall, 98.7% of working age population was covered by any
health insurance scheme, of which national health insurance scheme (UC) shared 64.8 %. Among those
insured, only 9.3% reported having oral health care during the past year. Regarding area and income, it
was found that Civil Servants’ Medical Benefit Scheme (CSMBS) with high income clients from Bangkok
Metropolitan have the highest accessibility to oral health care of 22.5% compared to those national health
insurance scheme of 7.0-8.5% or 2.7-2.9 times higher. Furthermore, 45% of cases reported abstain to use of
their health insurance for oral health care and even 51.7% for UC scheme. Among UC scheme holders,
84.4% preferred seeking private services. The result reflects the challenge in access to oral health care. It is
necessary to develop measures to increase access to public services with effective and appropriate mechanisms.