บทคัดย่อ
เอกซเรย์ปอดเป็นการตรวจที่ถูกกำหนดไว้ในรายการตรวจสุขภาพประจำปีของคนไทย นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว ยังมีการตรวจเอกซเรย์ปอดเพื่อเข้าศึกษาต่อ การตรวจเอกซเรย์ปอดก่อนเข้าทำงาน จากรายงานของต่างประเทศพบว่าการทำเอกซเรย์ปอดในการตรวจสุขภาพประจำปีหรือในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเป็นการตรวจที่พบความผิดปกติได้น้อย โดยเฉพาะในผู้ป่วยอายุน้อย ความผิดปกติที่พบไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ผู้ป่วยได้รับรังสีโดยไม่จำเป็นและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ไม่มีความคุ้มค่าที่จะตรวจ วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหาความชุกของความผิดปกติในฟิล์มเอกซเรย์ปอดและหาความสัมพันธ์ของความผิดปกติของเอกซเรย์ปอดกับช่วงอายุของผู้รับบริการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว ในช่วง 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2556 ระเบียบวิธี เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง รวบรวมข้อมูลการอ่านฟิล์มเอกซเรย์ปอดของผู้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปี จากฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลที่อ่านโดยรังสีแพทย์ ศึกษาผลการอ่านฟิล์มผู้รับบริการทุกคนที่มาตรวจสุขภาพประจำปี ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS 21 ผลการศึกษา ผู้รับบริการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัวทั้งหมด 1,569 คนมีการทำการเอกซเรย์ปอด 1,446 คนในจำนวนนี้มี 21 ฟิล์มที่ผลอ่านฟิล์มระบุว่าไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย มีจำนวนฟิล์มที่นำมาศึกษาทั้งหมด 1,425 ฟิล์ม พบความผิดปกติจำนวนทั้งสิ้น 45 ฟิล์ม คิดเป็นร้อยละ 3.15 เป็นความผิดปกติที่เป็นหัวใจโต 26 คนหัวใจกลับด้าน 1 คน ความผิดปกติที่เนื้อปอดจำนวน 9 คน ความผิดปกติที่เยื่อหุ้มปอดจำนวน 1 คน ความผิดปกติที่กระดูกจำนวน 6 คน ความผิดปกติอื่นๆจำนวน 2 คน และในจำนวน 45 คนนี้ พบว่าเป็นความผิดปกติเก่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเทียบกับฟิล์มเดิมจำนวน 28 คน ไม่พบความผิดปกติที่แย่ลงเทียบกับฟิล์มเดิม และในจำนวนนี้พบเป็นความผิดปกติใหม่จำนวน 4 คน อีก 13คนเป็นความผิดปกติที่พบโดยไม่มีผลฟิล์มเดิมเปรียบเทียบ เมื่อเทียบความผิดปกติที่พบกับกลุ่มอายุแล้ว พบว่า ไม่สามารถเทียบความแตกต่างของกลุ่มอายุกับความผิดปกติที่พบในเอกซเรย์ปอดได้เพราะจำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มอายุต่างกัน อภิปราย ความชุกของความผิดปกติของเอกซเรย์ปอดในผู้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปีพบได้น้อยและความผิดปกติส่วนใหญ่จะเป็นความผิดปกติที่เป็นอยู่เดิมและไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลรักษา ดังนั้นการทำเอกซเรย์ปอดควรทำในผู้ที่มีความเสี่ยงและมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากการตรวจนี้อย่างคุ้มค่า
บทคัดย่อ
Chest x-ray is one of the examinations/tests of the annual check-up program in Thailand. Routine
CXR is also occasionally required of future employees, or university students before admission. However
in many countries prevalence of abnormal chest x-ray on annual checkup is low yield and high cost. Purpose: The study aims to determine the prevalence of abnormal annual check-up CXR in Pua Crown
Prince Hospital and to find out the correlation between age group and prevalence of abnormal CXR.
Methodology: Descriptive analysis and to cross sectional design were used in this study. All patients
who came for annual checkup and CXR at Pua Crown Prince Hospital during 1 January to 31 December
2013 were included. All of CXR evaluated by radiologist were analyzed by using SPSS 21. Findings:
Among 1,569 cases of annual checkup at Pua Crown Prince Hospital during 1 January to 31 December
2013, 1,446 routine CXRs were found and 21 films were technically poor. Consequently 1,425 films were
included in this study. Prevalence of abnormal CXR was 3.15% and 1.82% of abnormal CXR was cardiomegaly.
Lung abnormality was 0.63%. The remaining abnormalities were scoliosis of thoracic spine and
renal stone. Discussion: Prevalence of abnormal screening chest x-ray on annual medical checkup is low.
Most of abnormal findings were cardiomegaly. Findings of lung abnormality were low. Screening CXR
would also lead to unnecessary radiation, and false-positive screening resulting in physical risk, unwarranted
anxiety and more expenditure. Screening CXR is appropriately reserved for high-risk patients and
those with relevant clinical findings.