บทคัดย่อ
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งโรคนี้ก่อให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์และภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญที่ผู้ป่วยต้องจัดการ ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์การวิจัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่มีภาวะแทรกซ้อน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
วิธีดำเนินการวิจัย งานวิจัยคุณภาพชีวิตและแนวทางการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณในการวิจัยนี้คือ ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 543 ราย ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในเขตจังหวัดสระบุรี จำนวน 17 แห่ง ที่ได้มาจาการสุ่มตัวอย่าง แบบ Multi-stage random sampling สำหรับกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ได้แก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 36 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF-THAI) แบบสอบถามนี้ได้รับการทดสอบค่าความตรงและค่าความเที่ยงของแบบสอบถามคือ 0.82 สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์จำนวน 12 ข้อ ผู้วิจัยได้มีการบันทึกเสียงสนทนาและจดบันทึกขณะทำการสัมภาษณ์เชิงลึก
การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ เปอร์เซ็นต์ สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ใช้สถิติวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (multiple regression) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่ที่เป็นประเด็นสำคัญของคุณภาพชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (65.54%, จำนวน 350 ราย) มีอายุเฉลี่ย 60.08 ปี (S.D.= 13.37) มีสถานภาพสมรสคู่มากที่สุด (66.88%, จำนวน 374 ราย) การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ (71.64%, จำนวน 389 ราย) ส่วนใหญ่มีรายได้ 0-1,000 บาทต่อเดือน (36.1%, จำนวน 196 ราย) ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ (60.22%, จำนวน 327 ราย) ระยะเวลาเฉลี่ยของการเป็นเบาหวาน 3.64 ปี (S.D.= 7.06) ระยะเวลาเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉลี่ย 5.47 ปี (S.D.= 6.89) และเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเฉลี่ย 2.25 ปี (S.D.= 8.12) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (S.D.= 3.42, S.D.= 1.79) เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าคุณภาพชีวิตด้านจิตใจของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 2.97, S.D.= 1.32) อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนด้านที่มีคะแนนสูงที่สุดได้แก่ คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ( =3.61, S.D.= 1.01) อยู่ในเกณฑ์มาก ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยทำนายของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า สถานภาพสมรส สัมพันธภาพในครอบครัว การออกกำลังกาย ระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวาน ระยะเวลาการเป็นโรคความดันโลหิตสูง การควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤ .001-.05, r2 = .70) ปัจจัยทำนายทั้งหมดเหล่านี้สามารถทำนายผลลัพธ์คือระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อยู่ที่ระดับร้อยละ 70 ซึ่งอำนาจทำนายอยู่ในระดับที่ดี
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบประเด็นหลักของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงดังนี้ 1) การรับรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงประกอบด้วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่รักษาไม่หาย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและโรคเบาหวานมีประเภทแห้งและเปียก 2) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทำให้ร่างกายอ่อนแอลง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดความพิการ การป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นภาระของครอบครัว และการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำให้สุขภาพดีขึ้น และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย การเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงก็สามารถมีสุขภาพดีได้ การปรับพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาและการทำจิตใจให้สบายทำให้อยู่กับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ การจัดการตนเองเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและ การดูแลที่ดีจากผู้ให้บริการสาธารณสุขทำให้อาการดีขึ้น และการรักษาโดยการแพทย์ทางเลือกทำให้ดีขึ้น
บทคัดย่อ
Background: Diabetes mellitus and hypertension are major health problem in Thailand. Patients who suffer from these diseases experience undesirable symptoms and complications at target organs that affect levels of quality of life of patients.
Purpose: This study purposed: 1) to examine quality of life levels of diabetes patients and hypertensive patients with/without complications 2) to explore the method to increase levels of quality of life in diabetes patients and hypertensive patients with/without complications.
Method: Mixed method design was used in this study for examining quality of life of the patient. Sample of quantitative study include 543 patients with diabetes and/or hypertension and these patient were with/without complications. Study sample was recruited from 17 health care settings in Saraburi province. For qualitative study, sample was 36 patients with diabetes and/or hypertension, including with/without complications. Quantitative data was collected using WHOQOL-BREF-THAI. This questionnaire was tested for validity and reliability. The reliability was 0.82. With respect to qualitative study, data was collected by in-depth interview procedure using the list of 12 questions. Field note and voice-recording were performed during interview with the patient.
Data analysis: Demographic data was analyzed using frequency, percentage and S.D. Predictive factors of quality of life was analyzed by performing multiple regression procedure. Qualitative data was analyzed and categorized for major theme of perception of quality of life, levels of quality of life, and method to increase quality of life in diabetes mellitus and hypertensive patients.
Results: Average age of patient was 60.08 years (S.D.= 13.37) The majority of study sample was female (65.54%, n= 350). The major group of patient was married (66.88%, n= 374 ), and education levels was primary school (71.64%, n= 389). The majority of patient was low income, 0-1,000 Baht a month (36.1%, n= 196). Many patients can control diabetes mellitus and hypertension (60.22%, n= 327). The period of diabetes was 3.64 years (S.D.= 7.06), hypertension was 5.47 years (S.D.= 6.89), and both diabetes and hypertension was 2.25 years (S.D.= 8.12) Average score of quality of life of the patient was moderate levels ( = 3.42, S.D.= 1.79). With respect to perspective of the psychological aspect was the lowest score ( = 2.97, S.D.= 1.32) when comparing to all perspectives. The highest score was physical quality of life ( = 3.61, S.D.= 1.01) With regard to the predictive factor of quality of life, marital status, relationship in family, performing exercise, period of diabetes, period of hypertension, controlled diabetes mellitus and hypertension, and complication of diabetes and hypertension were statistically significant with levels of quality of life (p≤ .001-.05, r2 = .70). The effect of these predictors on quality of life was .70 (r2 = .70).
For qualitative results: The qualitative data was categorized to be three themes that were 1) the perception of diabetes mellitus and hypertension included diabetes mellitus and hypertension being chronically illness, diabetes mellitus and hypertension being caused by unhealthy behavior, and diabetes mellitus including dry and wet symptoms, 2) quality of life of diabetes mellitus and hypertension patients included levels of quality of life in diabetes mellitus and hypertension patients being moderate levels, diabetes mellitus and hypertension affecting physical aspect of the patients, diabetes mellitus and hypertension leading the patients to have morbidity, suffering from diabetes mellitus and hypertension having to dependent family member, and caring from health care providers can help the patient to be better 3) methods to improve quality of life included patients with diabetes mellitus and hypertension could have good quality of life by diet control, doing exercise, medication compliant, emotional management, self - management, good caring from health care provider and alternative medicine could help the patient to increase quality of life.