บทคัดย่อ
ปริมาณอุบัติเหตุทางถนน มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตร่างกายตลอดจนทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้ สถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ขององค์การอนามัยโลก พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิต 38.1 ต่อแสนประชากร และสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดบริการผู้บาดเจ็บของโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 โดยอาศัยการวิจัยแบบผสมผสาน การสารวจผู้บาดเจ็บที่มารับบริการในห้องฉุกเฉิน จานวน 382 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ผู้บริหารและบุคลากรของสานักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาล จานวน 59 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้บาดเจ็บที่มารับบริการเป็นผู้บาดเจ็บไม่รุนแรง มีค่าเฉลี่ยของเวลาที่ผู้บาดเจ็บอยู่รักษา ณ ห้องฉุกเฉิน 86.4 นาที มีผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่พอใจต่อการบริการของห้องฉุกเฉิน ในระดับมาก ส่วนมาก เดินทางมาเองและส่วนที่มาโรงพยาบาล ด้วยรถกู้ชีพ ติดต่อผ่านโทรศัพท์หมายเลข 1669 ส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้เห็นควรแนะนาผู้อื่นใช้บริการกู้ชีพ ที่ติดต่อผ่าน 1669 เพราะเชื่อว่ามีความปลอดภัยสูง การจัดบริการห้องฉุกเฉิน ยังพบปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับ การขาดแคลนอัตรากาลัง โดยเฉพาะแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และ ความไม่พร้อมด้านอื่นๆ ได้แก่ การส่งต่อ, งบประมาณ, พัสดุครุภัณฑ์ และ สารสนเทศ รวมถึง การทางานร่วมกับหน่วยกู้ชีพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, มูลนิธิและเอกชน ขาดการบูรณาการ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน วางแผนงบประมาณ ระยะยาว5-10 ปี สาหรับการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและ บุคลากรหลายสาขาวิชาชีพที่มีบทบาทเฉพาะต่อการแพทย์ฉุกเฉิน ให้ครอบคลุมโรงพยาบาลทุกระดับตั้งแต่ A,S,M,F เน้นบริการเชิงรุก ทั้งใน Pre-Hospital Care และHospital Case รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีบทบาทมีส่วนร่วม กับโรงพยาบาลเพื่อพัฒนาอุบัติเหตุฉุกเฉินอย่างจริงจัง
บทคัดย่อ
Road accident tends to rise, resulting in enormous loss of lives and assets. According to statistics of deaths from road accident from The World Health Organization found that Thailand mortality rate was 38.1 deaths per 100,000 populations and 3rd in the world ranking. The purpose of this report was to study the situation of trauma care process in Ministry of Public Health hospitals in regional health 3 through mixed methodology research. 382 traumatic patients were randomized from Emergency Department and 59 of administrators and staffs were interviewed and group discussed.
The result found that most traumatic patients were urgent. The average time of care in Emergency Department was 86.4 minutes. Most were highly satisfied to the services. Most traumatic patients entered to hospital privately. Patients who came with ambulance would communicate directly through emergency call of 1669 in trust of the safety system. The problems of Emergency Room management were insufficient of medical personnel especially emergency physicians and inadequate of referral system, budgets, equipments and information system including lacking of coordinated work and integrations with Fast Responder unit of other local government and foundations.
The policy recommendations from this study were Ministry of Public Health and Emergency Medical Institute should long-term plan to support emergency physicians and other medical personnel for hospitals in any level from A,S,M to F in 5-10 years. Including encouragement of local government to participate in developing of emergency system.