บทคัดย่อ
ความรู้พื้นฐาน:
โรคไตวายระยะสุดท้ายเป็นโรคที่มีอัตราทุพพลภาพ อัตราการเสียชีวิต และค่ารักษาสูงมากในระบบสาธารณสุข การป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง/โรคไตวายระยะสุดท้าย คือ การตระหนักรู้โรคตั้งแต่ระยะแรก และการให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามสาเหตุก่อโรค โรคไตอักเสบโกลเมอรูลัสเป็นสาเหตุของโรคไตวายระยะสุดท้ายที่พบได้บ่อยอันดับสามในประเทศไทยเหมือนกับประเทศทางตะวันตก การพัฒนาระบบทะเบียนโรคและเครือข่ายโรคโกลเมอรูลัสที่มีคุณภาพจะช่วยปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขและข้อมูลทางระบาดวิทยาที่ถูกต้อง จะช่วยสนับสนุนงานวิจัยทางคลินิกและการนำงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์:
เพื่อพัฒนาระบบทะเบียนโรคโกลเมอรูลัสในรูปแบบเว็บออนไลน์สำหรับศึกษาระบาดวิทยาและผลลัพธ์ทางคลินิกของโรคโกลเมอรูลัสในประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายโรคโกลเมอรูลัสแห่งประเทศไทยสำหรับสร้างฐานข้อมูลโรคไตอักเสบโกลเมอรูลัสของประเทศ และสนับสนุนช่วยเหลือกันในการดูแลผู้ป่วย เพื่อสร้างข้อแนะนำทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคไตอักเสบโกลเมอรูลัส
วิธีการ:
เครือข่ายโรคโกลเมอรูลัสแห่งประเทศไทยเริ่มต้นประกอบด้วยโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิ 9 แห่ง ร่วมกันพัฒนาโปรแกรมการลงทะเบียนโรคโกลเมอรูลัสในรูปแบบเว็บออนไลน์ โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อไตธรรมชาติยืนยันโรคไตอักเสบโกลเมอรูลัสทุกรายที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ภายหลังจากผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของแต่ละสถาบัน ข้อมูลที่เก็บ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ภูมิลำเนา และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้ ระดับซีรั่มครีอะตินิน อัลบูมิน คลอเลสเตอรอล ผลตรวจปัสสาวะ ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ผลตรวจทางวิทยาเซรุ่ม (serology) และผลพยาธิวิทยาทางไต ผลลัพธ์ทางคลินิกที่ศึกษา ได้แก่ ภาวะโรคสงบ การกำเริบของโรค การเพิ่มขึ้นของระดับซีรั่มครีอะตินินเป็น 2 เท่า อัตราการอยู่รอดของไตและผู้ป่วย เป็นต้น
ผลการศึกษา:
ผู้ป่วยที่รวบรวมได้จำนวน 666 ราย ในช่วง วันที่ 1 ก.ค. 2557-30 มิ.ย. 2558 เป็นเพศหญิงต่อเพศ ชาย 2.16 ต่อ 1 อายุเฉลี่ย 42 ปี (18-82) ระดับซีรั่มครีอะตินินเฉลี่ย 1.4 มก./ดล. (0.4-13) อัลบูมินเฉลี่ย 2.9+0.8 กรัม/ดล. คลอเลสเตอรอลเฉลี่ย 296+118 มก./ดล. ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเฉลี่ย 3.2 กรัม/วัน (0-22) ผู้ป่วยมาด้วยอาการเนโฟรติกซินโดรม (nephrotic syndrome) ร้อยละ 34 อาการเนไฟรติส (nephritis) ร้อยละ 22 อาการร่วมของเนโฟรติกเนไฟรติส (nephrotic nephritis) ร้อยละ 21.7 มีการทำงานของไตผิดปกติ (ซีรั่มครีอะติ นิน > 1.2 มก./ดล.) ร้อยละ 52 พบความดันเลือดสูงเกิดใหม่หรือคุมยากร้อยละ 54.4 ผลตรวจทางพยาธิวิทยาไต พบโรคดังต่อไปนี้ ร้อยละ 38 โรคไตอักเสบลูปัส ร้อยละ 17.6 โรค IgA nephropathy (IgAN) ร้อยละ 9 โรค focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) ร้อยละ 8.9 โรค membranous nephropathy (MN) อายุเฉลี่ยของ โรคทั้งสี่ตามลาดับ คือ 34, 38, 46 และ 50 ปี ระดับซีรั่มครีอะตินินเฉลี่ยขณะตรวจชิ้นเนื้อไตเรียงตามลำดับ คือ 1.9, 2.4, 2.4 และ 1.1 มก./ดล. เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านเวลาผลลัพธ์ทางคลินิกจึงยังไม่ได้แสดง ณ ขณะนี้
บทสรุป:
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโรคที่พบบ่อยสุด 3 อันดับแรกจากผลชิ้นเนื้อไต ได้แก่ โรคไตอักเสบลูปัส, IgAN และ FSGS เป็นผู้ป่วยอายุไม่มากอยู่ในวัยทำงาน และมีการทำงานของไตผิดปกติตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อไต ซึ่งอาจเป็นผลจากความรุนแรงของโรคเอง หรือ ความล่าช้าในการตรวจชิ้นเนื้อไตซึ่งอาจเกิดจากความพร้อมในการตรวจชิ้นเนื้อไตที่จำกัดในบางโรงพยาบาลและระบบการส่งตัวผู้ป่วย จากข้อมูลของการรักษาบำบัด ทดแทนไตในประเทศไทย พบว่า โรคไตอักเสบลูปัส, IgAN และ FSGS เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดของโรคไตอักเสบโกลเมอรูลัสที่เป็นสาเหตุของไตวายระยะสุดท้าย ดังนั้นการให้การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วร่วมกับการรักษาที่เหมาะสม น่าจะช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้
บทคัดย่อ
Background: End stage renal disease (ESRD) cause the high morbidity, mortality, and cost in health
care system. The prevention of chronic kidney disease/ESRD is the early recognition and
appropriate treatment of the etiology disease. Glomerulonephritis (GN) is the third most common
cause of ESRD in Thailand comparable to the Western country. The development of qualified
registry and GN network may improve the health care service and accurate epidemiological data
that support the further studies in both clinical and translational research.
Objective: To develop web-based On-line Thai Glomerular Disease Registry for studying the
epidemiology and clinical outcomes of glomerular diseases in Thailand. To develop Thai
Glomerular Disease Collaborative Network (TGDCN) through the country for creating the GN
database and supporting together in taking care of the patients. To perform the clinical
recommendation in GN management.
Methods: TGDCN originally consists of 9 tertiary care centers. We developed the Web-based
Online registry to collect the data from all native kidney biopsy-proven GN patients with aged >
18 years after approval by the ethical committee of each site. We recorded the demographic data
including gender, age, education, native habitat and the laboratory tests including serum
creatinine, albumin, cholesterol, urinalysis, proteinuria, serology tests and the pathological
findings. The clinical outcomes including remission, flare, doubling of serum creatinine, renal
survival, and patient survival were investigated.
Results: We recruited 666 patients performed kidney biopsy during Jul 1, 2014 to Jun 30, 2015.
The female to male ratio was 2.16:1. The mean age, creatinine, albumin, and cholesterol were 42
(18-82) years, 1.4 (0.4-13) mg/dL, 2.9+0.8 g/dL, and 296+118 mg/dL in respectively. The median
proteinuria was 3.2 g/day and ranged 0-22 g/day. The patients presented with 34% of nephrotic
syndrome, 22% of nephritis, 21.7% of nephrotic nephritis, 52% of renal impairment (creatinine >
1.2 mg/dL), and 54.4% of new or aggravated hypertension. The renal pathological findings showed 38% of lupus nephritis (LN), 17.6% of IgA nephropathy (IgAN), 9% of focal segmental
glomerulosclerosis (FSGS), and 8.9% of membranous nephropathy (MN). The mean age of LN,
IgAN, FSGS, and MN were 34, 38, 46, and 50 years. The average creatinine at biopsy of LN, IgAN,
FSGS, and MN were 1.9, 2.4, 2.4, and 1.1 mg/dL. Due to the time limited, the clinical outcomes
were not described at this time.
Conclusion: Our study described the first three common renal pathological findings including LN,
IgAN, and FSGS They were in the working age and presented with the initial renal impairment at
kidney biopsy. This might be the severity of the disease or the delay in performing biopsy due to
limitation of facility in kidney biopsy procedure and referring system. In addition to the data from
Thailand Renal Replacement Therapy (TRT), LN, IgAN, and FSGS were the most common GN
causing the ESRD in our country. Early diagnosis and proper management should be improve the
clinical outcomes among these patients.