บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลของการใช้งานฟันเทียมต่อการเปลี่ยนแปลงดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่ฟันเทียม ในโครงการฟันเทียมพระราชทาน เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยเก็บข้อมูลค่าดัชนีมวลกายย้อนหลังจากเวชระเบียนเป็นเวลา 6 เดือน ถึง 2 ปี ภายหลังจากการได้รับบริการใส่ฟันเทียม จำนวน 436 คน ใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยมีตัวแปรอิสระคือกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้งานฟันเทียม และกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้ใช้งานฟันเทียม ตัวแปรตามคือค่าผลต่างดัชนีมวลกาย มีการควบคุมอิทธิพลของตัวแปร เพศ อายุ ระดับรายได้และดัชนีมวลกายเริ่มต้น โดยให้เป็นตัวแปรร่วมในการวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการใช้งานฟันเทียมส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุ ภายหลังการได้รับบริการใส่ฟันเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยเป็นบวก และปัจจัยค่าดัชนีมวลกายเริ่มต้นจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดัชนีมวลกายไปในทางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยเป็นลบ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันและได้รับการใส่ฟันเทียม เพื่อใช้ในการบดเคี้ยวทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ส่งผลทำให้ดัชนีมวลกายกลับมาเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ
The purpose of this study was to examine changes of body mass index (BMI) among elderly in the
Royal Denture Bestowed Project (RDBP). The study design was a retrospective cohort study. BMI was
carried out of 436 subjects, from 6 months to 2 years after denture services from medical record. Multiple
linear regression was analyzed the relationship between denture use and BMI adjusted for gender, age,
income level and baseline of BMI.
The results showed that the denture use significantly increased BMI with positive coefficient regression
and the BMI baseline decreased with negative coefficient regression of elderly in the RDBP (P < 0.05).
The conclusion of the elderly with loss of tooth was replaced with denture for food chewing effected
increase BMI