บทคัดย่อ
ทารกแรกเกิดที่ขาดออกซิเจน และมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องทางสติปัญญา มีพัฒนาการที่ล่าช้า มีปัญหาการเรียนรู้ และอาจเกิดความพิการทางสมอง การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์โครงการบูรณาการพัฒนาการเด็กไทยในโรงพยาบาลสูงเม่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ทารกแรกเกิดที่ขาดออกซิเจน และ/หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในคลินิกเด็กดีของโรงพยาบาล ในช่วง 1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2558 จำนวน 51 คน ประเมินพัฒนาการโดยใช้คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง ผลการศึกษาพบว่าเป็นเด็กผู้หญิง ร้อยละ 64.7 และเป็นทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 86.3 ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เป็นทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ร้อยละ 72.7 เด็กที่มีภาวะขาดออกซิเจนมีปัจจัยเสี่ยงจากการคลอดและความผิดปกติจากการคลอด ร้อยละ 57.1 การศึกษาของมารดาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 37.2 ผู้เลี้ยงดูหลักเป็นพ่อแม่/ปู่ย่าตายายร้อยละ 51.0 เด็กได้รับนมแม่ครบ 6 เดือน ร้อยละ 62.1 เด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 78.3 – 97.8 การเจริญเติบโตของเด็กส่วนใหญ่เป็นไปตามเกณฑ์และสมส่วน การคัดกรองพัฒนาการทางระบบประสาทที่อายุ 1, 4 และ 12 เดือน ได้ผลปกติ ร้อยละ 100 มีภาวะโลหิตจางที่อายุ 6 เดือนร้อยละ 22.6 ผลการกินยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ค่าฮีมาโตคริตสูงกว่าก่อนกินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=.012) โครงการบูรณาการพัฒนาการเด็กไทยสามารถดำเนินการได้ในโรงพยาบาลชุมชน โดยพัฒนาทักษะการใช้คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเด็กทารกที่ขาดออกซิเจนและมีน้ำหนักตัวน้อย
บทคัดย่อ
Birth asphyxia and low birth weight were important causes of mental retardation, delayed development,
learning disabilities and cerebral palsy. This retrospective research was aimed to study the outcome
of Thai Child Development Integration Project in Sungmen Hospital. The subjects studied were 51
patients who attended the Well Child Clinic from October 1, 2013 to September 30, 2015. Developmental
Assessment for Intervention Manual [DAIM] was used to evaluate child development. The majority of
patients were low birth weight (86.3%) and were female (64.7%). Most of the low birth weight (72.7%)
were intrauterine growth restriction. The influencing factors of birth asphyxia were from delivery and
abnormal delivery (57.1%). Most mothers had secondary education (37.2%). Primary caregivers were
parents/grandparents (51%). Infants fewer than six months of age were predominant breastfeeding (62.1%).
The majority of patients had normal child development (78.3% - 97.8%). The growth, weight for age,
height for age and weight for height were normal in range. Neurodevelopmental assessment at 1, 4 and 12
months of age were normal. Anemic patients (hematocrit less than 33%) at 6 months of age were 22.6%.
Iron supplement statistically improved anemic condition (P = 0.012). The Thai Child Development Integration
Project could be established in a community hospital by training DAIM skill and be most effective
for birth asphyxia and low birth weight.