บทคัดย่อ
การวิจัยด้านสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่ค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยค่อนข้างสูงในขณะที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการ รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยด้านสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนประสบการณ์การจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยด้านสุขภาพที่ผ่านมาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยด้านสุขภาพในประเทศไทย โดยได้ทบทวนวรรณกรรมและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยด้านสุขภาพในระดับประเทศจากฐานข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งพบทั้งหมด 23 การศึกษา แบ่งออกเป็นการศึกษาในประเทศไทย 2 การศึกษา และการศึกษาในต่างประเทศ 21 การศึกษา โดยงานที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัยปัญหาสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงในโรคหรือประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มิได้มุ่งหวังที่จะจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัยปัญหาสุขภาพโดยรวม อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ผลการจัดลำดับความสำคัญได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้ประโยชน์ การออกแบบกระบวนการจัดลำดับความสำคัญควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายในกระบวนการ กำหนดเกณฑ์และข้อมูลที่ใช้ในการจัดลำดับและมีการนำเสนอผลการจัดลำดับความสำคัญที่ชัดเจน รวมถึงให้ความสำคัญกับกระบวนการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
บทคัดย่อ
Health research is an essential tool to improve health system and quality of life but it is costly. Therefore,
in a resource-limited country, it is necessary to better understand health research priority setting
processes in order to assist decision-makers in allocating funding and resources more effectively and
efficiently. This study aims to learn from the world’s experiences regarding health research prioritization for a better understanding in prioritization approaches and how to apply them for health research priority
setting in Thailand. The results of literature and document reviews from national and international databases
showed that there were 23 studies categorized into two Thai and 21 international studies. The major
criteria found in research priority setting were the specific areas of health research and those of the patient
groups. The lesson learned from this study provides evidence on what needs to be considered in order to
design for effective health research prioritization processes in Thailand. This study suggests that multiple
relevant stakeholders should be involved throughout the processes, prioritization criteria have to be clearly
set and identified, and the deliberative process is recommended.