บทคัดย่อ
บทความนี้มีเป้าหมายที่จะใช้มโนทัศน์ช่วงชั้นทางสังคมมาอธิบายความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม เพื่อทำความเข้าใจว่าใครคือประชากรกลุ่มเปราะบางในสังคม โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมในส่วนของแนวคิด/ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่ใช้อธิบายและจัดช่วงชั้นทางสังคม การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ รวมถึงการจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาตัวชี้วัดช่วงชั้นทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาคือตั้งแต่เดือน มีนาคม 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งเป็นระยะที่ 1 ของโครงการวิจัยการจัดช่วงชั้นทางสังคมในบริบทของสังคมไทยกับภาวะทางสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่าช่วงชั้นทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมนั้นเกิดจากมโนทัศน์โอกาสในชีวิต (life chances) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความแตกต่างของมนุษย์ ทั้งโชคชะตาที่กำหนดโดยธรรมชาติ โดยวัฒนธรรม หรือโดยสถานการณ์ทางสังคมล้วนนำมาซึ่งความแตกต่างทางสังคม (social differentiation) ช่วงชั้นทางสังคม (social stratification) และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม (social inequality) การจำแนกผู้คนด้วยตัวชี้วัดช่วงชั้นทางสังคมนั้นสามารถกระทำได้สองลักษณะคือ (1).จำแนกด้วยตัวชี้วัดช่วงชั้นทางสังคมเชิงภววิสัย มี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ชาติกำเนิด 2) พื้นฐานการดำรงชีพของครัวเรือน 3) เศรษฐกิจ 4) การศึกษา และ 5) สุขภาพ และ (2).จำแนกด้วยตัวชี้วัดช่วงชั้นทางสังคมเชิงอัตวิสัย มี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) สถานภาพทางสังคม 2) อิสรภาพและเสรีภาพ 3) ภราดรภาพ 4) การบริโภคและรูปแบบการดำเนินชีวิต และ 5) ความตระหนักในชนชั้น ทั้งนี้ การนำตัวชี้วัดช่วงชั้นทางสังคมเหล่านี้ไปค้นหาประชากรกลุ่มที่อยู่ในจุดที่เสียเปรียบที่สุดของช่วงชั้น หรือ ประชากรกลุ่มเปราะบาง เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือด้วยการสร้างหลักประกันแห่งโอกาสในชีวิต (life chance guarantees) และจะเป็นการสร้างความเท่าเทียมและสร้างความเป็นธรรมทางสังคม (social equality and social equity) ให้กับคนกลุ่มนี้ในสังคมต่อไป
บทคัดย่อ
This article aims to apply the concept of social stratification to explain social inequality. This will
help understand who is vulnerable population in the society. The authors have reviewed the literature of
concepts and theories in social sciences that can explain and rank the social stratification. Moreover, this
first phase of the big research project “Social Stratification in the Context of Thai Society and Health Status”
applied in-depth interviews and meetings with experts from March 2015 to March 2016 to select indicators of social stratification measurement appropriate to the context of Thai society. The research finding explains that social stratification and social inequality are conceived from the life chances concept as the beginning point of differences of human being. Life chance either by nature, by culture, or by social situation, leads to social differentiation, social stratification and eventually social inequality. Social stratification measures can be used to rank people by two approaches: 1. Objective measures of social stratification cover five indicators; 1) Birth origins 2) Standard of living in household 3) Economy 4) Education and 5) Health, and 2. Subjective measures of social stratification also cover five indicators; 1) Social status 2) Freedom and liberty 3) Fraternity 4) Consumption and lifestyle and 5) Class awareness. All of the above indicators of social stratification will be utilized to find populations who are the most disadvantaged, or the “vulnerable populations.” This finding has contributed to help build life chance guarantees, social equality and social equity for the vulnerable in Thai society in the future.