บทคัดย่อ
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยชรา สุขภาพย่อมจะเสื่อมถอยลง แต่ถ้าหากผู้สูงอายุมีความฉลาดทางสุขภาพก็จะช่วยชะลอการเสื่อมถอยนั้นได้หรือช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความฉลาดทางสุขภาพตามหลักพฤติกรรมต่างๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแนะให้ประชาชนดูแลตนเอง ซึ่งประกอบด้วยการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับอารมณ์ การงดสูบบุหรี่และการงดดื่มสุรา 2. ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคามและกาฬสินธุ์ จำนวน 600 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ระหว่างเดือนมกราคม - เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีการเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ความฉลาดทางสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับต่ำ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ความฉลาดทางสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (r = 0.305, p-value <0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ข้อเสนอแนะ ควรเร่งรัดให้มีการประเมินและพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งในระดับบุคคลและระดับชุมชน เพื่อให้ทราบสถานการณ์ทางสุขภาพที่เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่การมีข้อมูลขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดแผนงาน ยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และปริมาณที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในอนาคต โดยเน้นที่องค์ประกอบที่มีความจำเป็นเร่งด่วนก่อน เช่น ทักษะการเข้าถึงข้อมูล ทักษะการสื่อสาร และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ
บทคัดย่อ
When getting old, health usually becomes decelerating. Generally, it is believed that health literacy
could replenish the elderly to good quality of life; hence the research tried to prove this belief. This study
is a descriptive research comprising two objectives. Firstly, it aimed to investigate the level of the elderly’s
health literacy according to the ABCDE behavioral campaign by the Ministry of Public Health (A: Alcohol
abandon, B: Baccy, no tobacco smoking, C: Coping with emotion, D: Diet consumption, and E: Exercise).
Secondly, the research examined the relationship between health literacy and the quality of life of the
elderly in the Central Region of the Northeast. The research was done with 600 elderly living in Roi-et,
Khon Kaen, Mahasarakham and Kalasin. The data were collected by interviewing conducted during January
to March, 2015 and were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s
correlation coefficient. The results revealed that the overall level of the elderly health literacy according to
the campaign was low but the quality of life of the elderly was high. The relationship between health
literacy and quality of life of the elderly was positive (r=0.305, p<0.01). From the findings, the researcher
suggested that there should urgently be wider assessment of the elderly health literacy at both individual
and community levels in order to know the real health status of the elderly. The result of the wider assessment
will be useful for creating qualified strategic plan appropriate to the situation of the elderly increase
in the future. The strategic plan in the future should focus on urgent needs in developing the elderly’s
skills such as; information access, communication, and media literacy.