บทคัดย่อ
อุบัติการณ์การตายและพิการของผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถลดลงได้ด้วยการใช้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล จากรายงานล่าสุดมีเพียงร้อยละ 3.1 เท่านั้นที่ใช้บริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ก่อนถึงโรงพยาบาล จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทบทวนสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์และนำไปส่งเสริมการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล ภายหลังการทบทวน พบบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ 38 ฉบับ แต่มี 31 บทความที่มีความสอดคล้อง มีความน่าเชื่อถือในหลักฐานเชิงประจักษ์และถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย จากนั้นจึงนำ 31 บทความดังกล่าวมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาต่อไป
ผลจากการสังเคราะห์พบว่า การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของผู้ป่วยเร่งด่วนนั้นเป็นการใช้บริการโดยเรียกสายด่วน 1669 และวิธีการอื่นๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคมของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้และการมีพาหนะส่วนตัว ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ทัศนคติต่อ EMS การเคยใช้บริการ EMS การได้รับการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้อุปสรรคต่อการใช้ EMS การเข้าถึงข้อมูลบริการ ความรู้เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยเร่งด่วนที่จะต้องใช้ EMS และความเชื่อมั่นในตนเองต่อการใช้ระบบ EMS เสนอว่าควรใช้ข้อค้นพบนี้เป็นแนวทางในการวิจัยในอนาคตเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ EMS ในประเทศไทยอย่างเหมาะสมมากขึ้นต่อไป
บทคัดย่อ
Incidence of death and long-term disability of emergency patients could be reduced with prehospital
emergency medical service (EMS) utilization. Current reports indicated that emergency medical
services were used only 3.1 percent of cases in Thailand. This reflected that a review of causes related to
the use of pre-hospital EMS was urgently required. This research was then conducted to promote the EMS
utilization. After the review, 38 articles were found related to the topic, and the contents of 31 articles were
relatively relevant and credible with evidence-based data after verifying with rigorous methodology. Then all of the 31 articles were utilized in the process of content analysis. The findings indicated that
EMS utilization via 1669 hotline and others were related with various factors including population, socioeconomic
of the service users or relatives such as gender, age, education, marital status, income, and
vehicle ownership.
The important factors included attitude towards EMS, EMS past experience, social support, perception
on obstacles in using EMS, access to information, knowledge on urgent symptoms of EMS use, and
self-confidence on using pre-hospital EMS system. These findings may be used to develop further
research for promoting appropriate EMS utilization in Thailand.