บทคัดย่อ
กัญชาเป็นพืชที่มีสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและมีฤทธิ์เสพติดซึ่งพบว่ามีประโยชน์หลายประการ เช่น เพื่อการผ่อนคลาย, ใช้เป็นยาสมุนไพร หรือใช้เส้นใยในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ อย่างไรก็ตาม ก็มีรายงานการวิจัยที่บ่งชี้ว่า กัญชามีผลเสียหลายประการ โดยเฉพาะผลเสียในระยะยาวต่อการทำงานของสมองและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดชนิดอื่น กัญชาถูกจัดไว้ในรายการยาเสพติดตามกฎหมายของหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2558-2559 มีความเคลื่อนไหวจากหน่วยงานของทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยเรียกร้องให้มีการทบทวนแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพื่อถอดกัญชาจากรายการยาเสพติด ข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้จำกัดเฉพาะเปิดโอกาสให้สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ แต่ยังรวมถึงการเปิดเสรีกัญชา รายงานฉบับนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อทบทวนสถานการณ์ของการใช้กัญชาทางการแพทย์ ตลอดจนประสบการณ์การเปิดเสรีกัญชาในต่างประเทศ ทั้งในแง่ผลดีและผลเสีย รวมถึงความเสี่ยงและความท้าทายต่อระบบสุขภาพไทย ด้วยมุ่งหวังว่าผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับงานวิจัยในอนาคต งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัย คือ การทบทวนวรรณกรรมจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฐานข้อมูล Medline
ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยที่เกี่ยวกับกัญชาส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในห้องปฏิบัติการหรือทำในสัตว์ทดลอง หากเป็นงานวิจัยในมนุษย์ก็มักเป็นงานวิจัยขนาดเล็กและมักเป็นการเปรียบเทียบผลการรักษากับยาหลอก การเปิดกว้างต่อการใช้กัญชาในต่างประเทศมีหลายระดับ ตั้งแต่อนุญาตให้ใช้ยาที่ผลิตจากสารสกัดจากกัญชา หรือสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลของยาคล้ายสารสกัดจากกัญชา เพื่อเป็นยาเสริม หรือใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาปกติและมีประวัติเคยใช้กัญชามาก่อน ในบางประเทศอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการรักษาภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ บางประเทศอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลาย บางประเทศลดโทษทางอาญาในการเสพและถือครองกัญชา แนวทางการเปิดกว้างการใช้กัญชาที่คล้ายกันในหลายประเทศ คือ (1) การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับกัญชามักทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และ (2) มีการวางมาตรการอื่นๆ เสริมอย่างเข้มข้นเพื่อป้องกันการใช้กัญชาในทางที่ผิดไปจากวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
อนึ่งการทบทวนวรรณกรรมนี้พบว่าข้อมูลทั้งหมดมาจากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทยยังมีช่องว่างความรู้เกี่ยวกับกัญชาอยู่มาก การส่งเสริมงานวิจัยในประเทศจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ประเด็นที่ยังเป็นช่องว่างความรู้ในประเทศไทย อาทิ การพัฒนาสายพันธุ์ การสกัดสารที่มีฤทธิ์ทางยาจากกัญชา และงานวิจัยด้านเภสัชศาสตร์เกี่ยวกับประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกัญชาในการรักษาโรคต่างๆ รวมถึงงานวิจัยที่เกินกว่าขอบเขตของระบบริการสุขภาพ เช่น งานวิจัยเชิงสังคมศาสตร์และนิติศาสตร์ ในประเด็นต่างๆที่กว้างขวางขึ้น อาทิ ความเห็นสาธารณะต่อการใช้กัญชา หรือ ความพร้อมของระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมกัญชาของไทย หากประเทศไทยจะดำเนินนโยบายที่เปิดกว้างต่อการใช้กัญชา การแยกประเด็นอภิปรายเรื่องการเปิดเสรีกัญชาออกจากการใช้กัญชาทางการแพทย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดความสับสนในการสื่อสารกับสังคม รวมถึงรัฐไทยพึงประเมินตนเองว่ามีความสามารถในการกำกับดูแลการใช้กัญชาได้มากน้อยเพียงใด และข้อคำนึงในมิติของค่าใช้จ่ายผูกพันในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เสพติดหรือมีอาการทางจิต และผลลัพธ์ต่อคุณภาพประชากรในภาพรวม
บทคัดย่อ
Cannabis is traditional plant that contains psychoactive substances. In the past, there were reports suggesting the utilisation of cannabis for various purposes, for instance, recreation, medicine, and textile. However, many countries, including Thailand, probihited the use of cannabis, and included it in the narcotic or addictive substabce list. So far, there have been a number of reports suggesting harmful effects of cannabis on health, especially, deleterious effects on brain function and increasing risk of the use of other substances.
Between 2015 and 2016, there were massive campaigns from both public and private agencies urging an amendment of the 1979 Narcotics Act in the way that withdraws cannabis from the narcotic drug list. This campaign is related to not only medicalisation, but also legalisation of cannabis. This report therefore sought to review the current situation regarding the use of cannabis for medical purposes in various aspects, such as benefits, caveats, as well as international experience in cannabis legalisation and challenges in the Thai healthcare system. It is hoped that results from this study will serve as grounds for future research, and can be useful to later policy decision. The main data collection technique is literature review on electronic databases, especially, Medline.
The findings show that most research on cannabis was confined in laboratory or animal studies. Though there were some clinical trials on humans, the majority of them still had limited number of participants, and compared clinical effects of cannabis with placebo. Regarding international experiences, the scope of cannabis medicalisation varies substantially; from extracting some substances in cannabis or using cannabis-like derivatives to produce second- or third-line drugs for treating patients with certain diseases, using herbal cannabis (by oral route or smoking) under supervision of physicians, to using cannabis in recreational activities. Some countries implemented decriminalisation measures. The openness of cannabis policies in many countries has some similar features, namely, (1) cannabis related laws were gradually amended over time rather than having a radical change, and (2) there were several measures implemented in parallel with the cannabis legalisation/medicalisation in order to prevent the use of cannabis in the way that deviates from original policy intentions.
Note that this review found that most information was retrieved from international literature. This observation reflected gaps in knowledge regarding medical use of cannabis in Thailand. Thus it is imperative to support domestic research on cannais in various angles, such as how to improve species of cannabis for better botanical use, how to extract medical substance from cannabis, and how to promote pharmacological studies on the effectiveness and efficacy of cannabis for treating certain diseases. This point should include research questions outside health service system arena, such as social science research and law studies. Some broader research questions should be taken into account, such as public opinions towards cannabis and the readiness and aprropriateness of existing laws in controlling cannabis. If the Thai government aims to implement policies vis-à-vis the utilisation of cannabis, it is imperative to distinguish medicalisation issue from legalisation issue while communicating with the wider publi. Moreover, the government should assess its capacity in regulating the use of cannabis before introducing cannabis-medicalisation/legalisation policies and the potential cost of treating patients with substance abuse.