บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ผู้ต้องขังเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อวัณโรคและโรคเอดส์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำกับผู้ป่วยวัณโรคทั่วไปในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ในเรื่องอัตราการป่วย ลักษณะของผู้ป่วย การเข้าถึงบริการเกี่ยวกับเอชไอวี และผลการรักษาวัณโรค วิธีการวิจัย: วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง โดยใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากมีการบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์มาจากสองแหล่งคือ ข้อมูลจากทะเบียนวัณโรค (N=2,472, เป็นผู้ต้องขัง 11%) และข้อมูลจากโครงการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวก (N=2,193, เป็นผู้ต้องขัง 6.6%) ศึกษาเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ในอำเภอเมืองเชียงราย ที่ขึ้นทะเบียนวัณโรคกับโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พ.ศ. 2550 – 2557 วิเคราะห์ความแตกต่างของสัดส่วนของตัวแปรต่างๆ ของกลุ่มผู้ต้องขังและกลุ่มประชากรทั่วไป ใช้ chi-square และค่า p-value ผลการศึกษา: อัตราการป่วยเป็นวัณโรคในผู้ต้องขังสูงกว่าประชากรทั่วไป 3.2 เท่า ผู้ต้องขังมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ป่วยทั่วไป (36.5 และ 45 ปี) และมีสัดส่วนของเพศชาย เสมหะบวก และการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป (p<0.05) ผู้ต้องขังรักษาวัณโรคสำเร็จมากกว่า และขาดการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป (p=0.030) ผู้ต้องขัง TB/HIV เข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวีน้อยกว่าผู้ป่วย TB/HIV ทั่วไป (p<0.001) แต่ไม่มีความแตกต่างในการเข้าถึงยา cotrimoxazole. ผู้ป่วยดื่มสุราเป็นประจำสูงทั้งสองกลุ่ม ผู้ต้องขังสูบบุหรี่และมีประวัติใช้ยาเสพติดมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป (p<0.001) แต่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ( p=0.040 และ p=0.008) เกือบร้อยละ 11 ของกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคทั่วไปเคยต้องขังในเรือนจำมาก่อน สรุปผลการศึกษา: ผู้ต้องขังมีอัตราการป่วยเป็นวัณโรคสูงกว่าประชากรทั่วไป แต่มีผลการรักษาวัณโรคดีกว่า มีความจำเป็นต้องให้ผู้ต้องขัง TB/HIV เข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวีให้เท่าเทียมกับผู้ป่วยทั่วไป
บทคัดย่อ
Background: Prisoners are socially vulnerable population and have high risk for tuberculosis
(TB) and human immunodeficiency virus (HIV). This study was conducted to explore whether the TB
notification rate, patient characteristics, access to HIV care and TB treatment outcome of prisoners
differ from general TB patients in Chiang Rai province. Design/Methods: A retrospective analysis of two existing TB related electronic databases included TB registry (N=2,472, 11% were prisoners)
and drug-resistance surveillance TB database (smear positive=2,193, 6.6% were prisoners). The study
populations were patients aged over 18 years, living in Mueang District, Chiang Rai, and registered in
TB registry during 2007 to 2014. We analyzed data by classifying into prisoner and general TB patient
groups. Percentage proportions of each variable were compared using chi-Square test and p-value
for the difference between two proportions. Results: The TB notification rate of prisoners was 3.2
times higher than general population. Prisoner group was significantly younger (mean age = 36.5 vs
45 yrs), had higher proportion of male, smear positive, and higher rate of HIV co-infection (TB/HIV)
than general TB patients (p<0.05). The treatment outcomes of smear-positive in two groups were not
different. However, treatment outcomes of all types of TB in prisoners were better than general TB
population, i.e. higher success rate with lower rate for loss to follow-up (p=0.030). Prisoners with TB/
HIV significantly had less access to antiretroviral drugs (ARV) (p<0.001) but access to cotrimoxazole
was not different. Both groups had high proportions of regular alcohol drinking. Prisoners significantly
had higher proportions of smoking and drug use than general TB patients but lower proportions of
diabetes mellitus or hypertension. Almost 11% of general TB patients were previously incarcerated.
Conclusions: Although prisoners had higher notification rate for TB and higher HIV co-infection than
general TB patients, treatment outcomes were better. To enhance health equality, access to ARV
among prisoners with TB/HIV should be ensured.