บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ต้องการประเมินต้นทุนและอรรถประโยชน์ของการทำผ่าตัดส่องกล้องเข่าในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดและ/หรือร่วมกับหมอนรองหัวเข่าแตก (Anterior cruciate ligament injury with or without meniscus injury) ในโรงพยาบาลทั่วไป (M1) เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดระบบบริการที่โรงพยาบาลจังหวัดเท่านั้น งานวิจัยนี้สร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ คือ Decision Tree ใช้กรอบระยะเวลา 1 ปี การวิเคราะห์ใช้มุมมองทางสังคม เก็บข้อมูล primary data collection สำหรับตัวแปรระยะเวลารอคอยการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดและการกลับไปเล่นกีฬาของผู้ป่วย ต้นทุนทางตรงด้านการแพทย์ ข้อมูลค่าอรรถประโยชน์ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยด้วยเครื่องมือวัด EuroQoL ซึ่งวัดโดย EQ-5D-5L ผลการศึกษา งบลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าโดยการส่องกล้องเข่าและค่าเช่าอุปกรณ์ คิดเป็น 99,328 บาท ที่ รพ.สิรินธร และ รพ.ขอนแก่น จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเร็วภายใน 2 เดือน คิดเป็นร้อยละ 93 และ 25 ระยะเวลาการรอคอยผ่าตัดเฉลี่ย เท่ากับ 1.03 ± 0.67 และ 4.36 ± 3.07 เดือน ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไม่แตกต่างกันทั้ง 2 โรงพยาบาล พบร้อยละ 7 โดยผู้ป่วยที่ไม่มีและมีภาวะแทรกซ้อนสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ภายใน 1 ปี ได้ทุกราย คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในรูปของอรรถประโยชน์ในช่วงก่อนผ่าตัดเท่ากับ 0.66±0.15 และหลังผ่าตัดที่ 3, ที่ 6 และที่ 12 เดือน เท่ากับ 0.77±0.22, 0.92±0.07, 0.93±0.06 ตามลำดับ ในกรอบระยะเวลา 1 ปี ต้นทุนทางตรงด้านการแพทย์,ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ด้านการแพทย์และต้นทุนทางอ้อมของ รพ.สิรินธร เท่ากับ 19,215, 7,488, 1,479 บาท และ รพ.ขอนแก่น เท่ากับ 19,413, 7,888, 1,538 บาท ตามลำดับ รวมต้นทุนทั้งหมด รพ.สิรินธร และ รพ.ขอนแก่น เท่ากับ 31,493 บาท และ 28,839 บาท ปีสุขภาวะของผู้ป่วย เท่ากับ 0.91 และ 0.85 ตามลำดับ อัตราส่วนต้นทุนต่อปีสุขภาวะที่ส่วนเพิ่มเท่ากับ 41,058 บาท/ปีสุขภาวะสรุปผลการศึกษา การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการผ่าตัดรักษาเอ็นไขว้หน้าโดยการส่องกล้องเข่าที่โรงพยาบาลทั่วไป M1 สามารถลดระยะเวลารอคอยได้ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นพบน้อยมากในโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง ผู้ป่วยทุกรายทั้งกลุ่มที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เช่นเดิม และมีความคุ้มค่าข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การจัดบริการรักษาไปยังโรงพยาบาลทั่วไประดับ M1 ควรดำเนินการในโรคที่สามารถให้ การรักษาที่ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาไม่แตกต่างกันกับโรงพยาบาลจังหวัด และภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวไม่มีผลต่อความสำเร็จในการรักษาสุดท้าย จะมีความคุ้มค่าภายใต้ข้อกำหนดของต้นทุนการลงทุนที่เพิ่มขึ้น 662 บาท/ผู้ป่วย 1 ราย โดยการรักษาโรคนั้นต้องสามารถเพิ่มค่าอรรถประโยชน์ภายหลังการรักษาได้ประมาณ 0.24 (เมื่อวัดด้วยเครื่องมือ EQ-5D-5L) และการให้บริการรูปแบบใหม่ต้องมีความรวดเร็วขึ้นมากกว่า 2 เดือน
บทคัดย่อ
Health Region 7th has developed strategies to build up and enhance capacity for medical services in orthopedic at the M1 level hospital. This study was aimed to assess cost utility of arthroscopic knee surgery in patients who had anterior cruciate ligament injury with or without meniscus injury at M1 hospital level as compared to the operation performed at only the provincial hospital level. The present study was based on decision tree analysis with the time horizon of 1 year using a societal perspective. The primary data collection was performed to obtain the following key variables: waiting time, complication rate, return to sport outcome (up to 1 year), direct medical cost, direct nonmedical cost, indirect cost, and utility (EuroQoL-EQ-5D-5L). The study sites included Sirindhorn Hospital (M1 level) and Khon Kaen Hospital (provincial hospital). The training cost and cost of instruments were 99,328 Baht. At Sirindhorn and Khon kaen hospitals, proportions of patients undergone surgery within 2 months were 93% and 25%, and the averages of waiting time were 1.03 ± 0.67 and 4.3 ± 3.0 months, respectively. The complication rates were similar of 7%. All patients with or without complications could return to sport within 1 year. Utilities at baseline, after surgery, 3, 6, 12 months thereafter were 0.66±0.15, 0.77±0.22, 0.92±0.07, 0.93±0.06 respectively. Under the timeframe of 1 year, direct medical cost, direct non-medical cost, and indirect cost for one case were 19,215, 7,488, and 1,479 Baht at Sirindhorn Hospital and 19,413, 7,888, and 1,538 Baht at Khon Kaen Hospital. For one case, total costs were 31,493 and 28,839 Baht, and quality-adjusted life years were 0.91 and 0.85, respectively. An incremental cost effectiveness ratio was 41,058 Baht/Quality adjusted life year. In conclusion, arthroscopic knee surgery for anterior cruciate ligament injury at M1 hospital level could reduce waiting time and was cost effective as compared to the operation performed at the provincial hospital level. The complication rates were similar and relatively low. All patients with and without complications in both hospitals could return to sport within 1 year. The policy recommendation proposes that provision of orthopedic services at the M1 hospital level should be promoted for the procedures that complication rates were similar and relatively low in both levels, complications do not lead to the final clinical outcomes, post-treatment utility outcome would increase by 0.24 (EQ5D 5L), and waiting time should not be greater than 2 months. The procedure as such would be cost-effectiveness if the initial program cost is about 662 Baht per one case.