บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานขับเคลื่อนจังหวัดตรังปลอดบุหรี่ โดยใช้แนวคิดกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) กลุ่มแกนนำภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาคประชาชน จำนวน 50 คน และ 2) กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าบุหรี่ 120 คน และร้านอาหาร 120 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน มีการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ เตรียมการ และ กระบวนการนโยบายสาธารณะ (ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดประเด็นปัญหา การกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย การตัดสินใจเชิงนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย) รวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ ประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปประเด็น ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่จังหวัดตรังปลอดบุหรี่ ประกอบด้วย 1) การประสานงานเครือข่ายของจังหวัด 2) การจัดตั้งทีมงาน 3) การศึกษาสถานการณ์การรับรู้กฎหมายการควบคุมยาสูบของประชาชน 4) การกำหนดมาตรการควบคุมยาสูบของจังหวัด 5) การขับเคลื่อนมาตรการควบคุมยาสูบสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 5.1) มาตรการสร้างความเข้าใจกฎหมาย เน้นการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของบุหรี่ในทุกช่องทางที่ประชาชนเข้าถึงได้ เช่น การเดินรณรงค์ตามสถานที่ต่างๆ สื่อวิทยุ โปสเตอร์ และเอกสารแผ่นพับ และ 5.2) มาตรการขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ โดยเริ่มจากหน่วยงานราชการ โรงพัก ศาลากลางจังหวัด และที่ว่าการอำเภอ รวมทั้งสถานที่สาธารณะอื่นๆ เช่น ตลาด สถานีขนส่ง และสวนสาธารณะ และ 6) การประเมินผลการดำเนินงาน พบว่าการรับรู้เขตปลอดบุหรี่ในร้านอาหารที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ โรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพ สถานที่ราชการอื่นๆ และตลาดสดเพิ่มขึ้น (21.16%, 19.71%, 15.39%, และ 15.16% ตามลำดับ) ผู้ประกอบการร้านค้าบุหรี่มีการรับรู้กฎหมายเพิ่มขึ้นว่า การขายบุหรี่/ยาเส้นแก่ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และการวางซองบุหรี่ให้เห็นผ่านตู้โชว์โดยไม่เห็นยี่ห้อถือเป็นการโฆษณาบุหรี่ (4.11% และ 3.7% ตามลำดับ) และปัจจัยความสำเร็จ คือ 1) การมีผู้นำที่ไม่สูบหรี่ (ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง) เป็นต้นแบบ 2) การมีทีมทำงานที่ทุ่มเทและมีศักยภาพในการประสานงานเครือข่าย และ 3) การมีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ดังนั้นการดำเนินงานจังหวัดปลอดบุหรี่ ต้องมีการจัดการด้านการสื่อสารต่อสาธารณะที่สามารถสร้างพลังการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ และเป็นการพัฒนาประชาชนให้เป็นพลเมืองที่มีความตื่นรู้ และเอาใจใส่ต่อสุขภาพและความเป็นไปของสังคมมากขึ้น
บทคัดย่อ
This study is a mixed methods research between quantitative and qualitative research focusing on action that aimed to develop a Trang province tobacco control model by using healthy public pol¬icy concept. Purposive sampling was employed to recruit the target groups including: 1) 50 leaders of the central and local government and people sectors, and 2) 120 cigarette sellers and 120 restaurant owners; 240 persons, altogether. The operation comprised two phases: preparation phase and the 5 steps of healthy public policy process phase (as agenda setting, policy formulation, decision-making, policy implementation and policy evaluation). Data were collected by the survey, group discussions, and in-depth interviews, and analyzed by descriptive statistics for quantitative data, and by content and thematic analysis for qualitative data. The results showed that the model of driving public policy to tobacco control of Trang province consisted of 1) provincial network coordination, 2) team estab¬lishment, 3) exploration on the tobacco control awareness of the people, 4) the establishment of tobacco control measures in the province, 5) driving tobacco control measures into practice, as 5.1) measures to understand the law: focusing on the outreach campaign at the provincial and district levels to inform the effects of smoking in all media accessible to the public (such as location-based, radio campaigns, posters and leaflets, and 5.2) non-smoking enforcement measures: starting from government offices and expanding to public areas (such as markets, bus stations, and parks), and 6) performance evaluation. The research found the increases in the perception of non-smoking law enforcement in the restaurant without air condition, hospitals and health care services, other gov¬ernment offices and fresh markets (21.16%, 19.71%, 15.39%, and 15.16%, respectively). The cigarette sellers were more aware of the cigarette/tobacco vending law that selling cigarette to those under 18 years of age is illegal, and displaying cigarettes in the window even without seeing brands also consid-ered advertising (4.11% and 3.7%). The key success factors were identified: 1) having a non-smoking leader (the governor of Trang province himself) 2) having a dedicated and capable team to coordinate the network and 3) having a variety of communication channels. Therefore, the provincial tobacco control model requires strong public communication management to empower network partners to participate in the public policy process and to develop people to be an active citizen and care for the health and well-being of the society.