บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชนโดยกลุ่มผู้สูงอายุและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ชนบท รวมทั้งเพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และประเมินรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 400 ราย องค์การบริหารส่วนตำบล 100 แห่ง ลงพื้นที่ศึกษา 8 แห่ง และทำการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสมของการบริหารจัดการและผลการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ และทำการวิเคราะห์การดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย ผลการศึกษาการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยปัจจัยที่เอื้อต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมากที่สุด คือ การดำเนินงานอาสาสมัครหรือจิตอาสา ปัญหามลพิษหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาด้านภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินทรุด ดินถล่ม และพายุ การดำเนินการดูแลหรือจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า การดำเนินการอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และการบังคับใช้กฎหมายหรือกำหนดมาตรการ แผนงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ พบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุทั่วประเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของหน่วยงานท้องถิ่น พบว่า ข้อมูลทางสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุเกินกว่ากึ่งหนึ่งมีลักษณะที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยวสองชั้น นอนบนเตียง มีห้องน้ำห้องส้วมแบบโถนั่งชักโครก/ราดน้ำ ในบ้านมีราวยึดเกาะ และไม่มีอุปกรณ์หรือสถานที่ในการทำกิจกรรมสันทนาการในเวลาว่าง สภาพปัญหาที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุมากที่สุด คือ เรื่องรายได้ของครอบครัวไม่มั่นคง พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุและความต้องการของผู้สูงอายุต่อการจัดสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมาก การพัฒนาคู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การจัดทำร่างคู่มือ เพื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 3 ด้าน ได้แก่ การจัดการน้ำเสียในครัวเรือน การจัดการขยะในครัวเรือน และน้ำมันใช้แล้วอย่าทิ้ง และ 2) การจัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้ในการเผยแพร่และให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 4 ด้าน ได้แก่ การจัดการพลังงานในครัวเรือน การจัดการน้ำในครัวเรือน การจัดการขยะในครัวเรือน และภูมิปัญญาชาวบ้านกับเกษตรอินทรีย์ และจากการนำคู่มือไปใช้ในการทดสอบและจัดกิจกรรมให้ความรู้กับกลุ่มผู้สูงอายุทั้ง 5 พื้นที่ พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนผู้สูงอายุ และชุมชน ได้ให้ความสนใจในด้านนโยบายเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการจัดการขยะ ซึ่งสะท้อนถึงทิศทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมและความสำเร็จที่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ การประเมินรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย โดยการนำคู่มือไปใช้ พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน เช่น โครงการจัดตั้งธนาคารขยะ โครงการรณรงค์การจัดการขยะชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กิจกรรมเพิ่มพื้นที่ป่าในชุมชน เป็นต้น
บทคัดย่อ
This study aims to study environmental management in household and community by elderly people and by local administrative organization (LAOs) in rural areas of Thailand, to synthesize model for the environmental management and then to assess the model. Questionnaires with four hundreds elderly people and one hundred local administrative organization and a survey of eight case studies in environmental management for elderly people from local administrative organization were used to gather data. Interviews to experts on elderly people and environmental management were also carried out.Data was analyzed in order to find out model for environmental management for elderly people.
The results showed that LAOs have allocated resources for environmental management for elderly people at high level and provided facilities for elderly people at moderate level. While, LAOs have law enforcement, measures, plans to support environment management for elderly people at moderate level. The influencing factor for enhancing quality of life of elderly people is to be a volunteer.The results from questionnaires of elderly people indicated that municipal waste, natural disasters, floods, droughts, landsides, soil subsidence and storm are major environmental and natural resource problems in community. More than half of the elderly people resemble a residential two-floor detached house, which have bed bathroom, toilet bowl and seat and handrail. There is no device or place for recreation activities for elderly people. According to elderly quality of life, they have problems about uncertain incomes. From the results mentioned above, a manual for environmental management for elderly people in rural areas is composed of 1) energy
management, 2) water management, 3) waste management in households and 4) local wisdom in organic agriculture. The manual was tested to five communities and it was found that LAOs have issued policy in environmental management especially waste management. Assessment of the model for environmental management for elderly people
in rural areas of Thailand by using the manual showed that LAOs in each rural area
have clearly issued in environmental development strategies and have carried out
projects and activities for improving quality of life of elderly people to support environmental management in the community for example the waste bank project,
the municipal waste management campaign project and the increase forest areas in
community project.