dc.contributor.author | วีระศักดิ์ พุทธาศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Weerasak Putthasri | en_EN |
dc.contributor.author | ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Rapeepong Suphanchaimat | en_EN |
dc.contributor.author | สิรินาฏ นิภาพร | th_TH |
dc.contributor.author | Sirinard Nipaporn | en_EN |
dc.contributor.author | สุพล ลิมวัฒนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Supon Limwattananon | en_EN |
dc.contributor.author | เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Yaowaluk Wanwong | en_EN |
dc.contributor.author | ประภาพร นพรัตยาภรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Prapaporn Nopparattayaporn | en_EN |
dc.contributor.author | วราภรณ์ ปวงกันทา | th_TH |
dc.contributor.author | Waraporn Poungkantha | en_EN |
dc.date.accessioned | 2017-11-01T06:29:15Z | |
dc.date.available | 2017-11-01T06:29:15Z | |
dc.date.issued | 2560-07-31 | |
dc.identifier.other | hs2371 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4799 | |
dc.description.abstract | การขยายหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมบุคคลทุกคนบนแผ่นดินไทยนั้น มีความพยายามในการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องดังปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร ในวิสัยทัศน์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รวมถึงแผนแม่บทการแก้ปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุขชายแดนของกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นหนึ่งที่เป็นที่สนใจเชิงนโยบายในปัจจุบัน อัตราการเกิดของเด็กต่างด้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี แต่เด็กต่างด้าวที่เข้าถึงสิทธิประกันสุขภาพก็มีจำนวนค่อนข้างน้อย จึงมีข้อกังวลว่า เด็กที่คลอดมาอาจไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคอย่างเพียงพอ ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กและเกิดโรคต่างๆ ที่เป็นภัยทางสาธารณสุขในวงกว้าง การศึกษานี้ได้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อถอดบทเรียนต่างประเทศในการจัดนโยบายให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับเด็กต่างด้าวในประเทศนั้นๆ (2) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กต่างด้าวที่อาศัยในแผ่นดินไทยในปัจจุบัน ทั้งในแง่ข้อดี ข้อเสีย และประเด็นท้าทายจากมุมมองของผู้ให้บริการ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้รับบริการ และ (3) เพื่อคาดประมาณงบประมาณของรัฐไทย ในการให้วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กต่างด้าว ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมคู่ขนาน การเก็บข้อมูลในวัตถุประสงค์ที่ 1 ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมแบบพรรณนาจากฐานข้อมูล grey literature ของประเทศในสหภาพยุโรปเป็นหลัก วัตถุประสงค์ที่ 2 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้บริการ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้รับบริการ ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กต่างด้าว และวัตถุประสงค์ที่ 3 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณ จากฐานข้อมูล 43 แฟ้ม ของกระทรวงสาธารณสุขการศึกษาดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัด การศึกษานี้มีข้อจำกัดบางประการ อาทิ (1) การทบทวนวรรณกรรมแบบพรรณนาเสี่ยงต่ออคติมากกว่าการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะไม่ได้มีกระบวนการคัดกรองคุณภาพของวรรณกรรมอย่างเข้มข้น (2) การสัมภาษณ์ในวัตถุประสงค์ที่ 2 มีผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่มากนัก และไม่ได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลอื่นๆ เช่น การสังเกตร่วมด้วย นอกจากนั้น ผู้ให้ข้อมูลก็รู้สถานะของผู้สัมภาษณ์ว่าทำงานในส่วนกลาง จึงมีแนวโน้มที่จะแสดงทัศนคติให้ตรงกับความคาดหวังของผู้สัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้จึงเสี่ยงต่ออคติ (3) การศึกษาดำเนินการในพื้นที่เพียง 4 จังหวัด จึงมีข้อจำกัดในการให้ข้อสรุปผลการศึกษานี้เป็นตัวแทนของสถานการณ์การดูแลเด็กต่างด้าวทั้งหมดในประเทศไทย (4) การคำนวณในวัตถุประสงค์ที่ 3 ต้องใช้สมมติฐานหลายประการ บางสมมติฐานอ้างอิงตัวเลขจากงานวิจัยเก่าที่ทำนานมาแล้ว และจำกัดเฉพาะค่าเวชภัณฑ์ ดังนั้นหากจะมีการผลักดันเชิงนโยบาย พึงมีกระบวนการให้ทุกฝ่ายตกลงและยอมรับในสมมติฐานก่อน รวมถึงควรมีตัวเลขอ้างอิงที่ทันสมัยกว่านี้ และควรคำนวณต้นทุนส่วนอื่นๆ ด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | คนต่างด้าว--สุขภาพและอนามัย | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การจัดระบบและคาดการณ์งบประมาณเพื่อชดเชยค่าบริการทางการแพทย์กรณีส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กต่างด้าว | th_TH |
dc.title.alternative | System management and budget estimation for supporting health promotion and disease prevention services for migrant children in Thailand | en_EN |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | An attempt to expand health insurance to cover ‘everybody’ on the Thai soil has been
implemented for years, as evidenced in the Vision of the National Health Security Office (NHSO) and the Border Health Plan of the Ministry of Public Health (MOPH). One of the issues that have caught political attention is a continuing growth in the volume of migrant children born in Thailand. However, the number of migrant children, who have been enrolled in the public insurance is quite limited. Such a situation creates a concern as to whether these migrant children received adequate immunization. This point also links to a risk of emerging and reemerging diseases that cause public health threats. Therefore, the objectives of this study are (1) to draw lessons from international experiences in managing health promotion and disease prevention services for migrant children, (2) to explore the current situation in managing health promotion and disease prevention services for migrant children in Thailand in terms of pros, cons, and challenges from the perspectives of policy makers, local implementers, and service users, and (3) to estimate budget impact for supporting vaccination program for migrant children in Thailand. The researchers applied parallel mixed methods design. Objective 1 employed narrative literature review approach as the main data collection tool. The majority of literature was retrieved from grey literature databases in the European Union. Objective 2 used in-depth interviews with policy makers, local implementers, and service users. Objective 3 applied quantitative analysis on secondary data (43 standard folders of the MOPH). Fieldwork was conducted in 4 provinces where migrants are concentrated. This study still faces some limitations as follows. Firstly, a narrative literature review is more prone to bias than a systematic review. This is because the narrative literature review lacks rigorous quality screening process on the selected articles. Secondly, the interviews in Objective 2 involved a small number of participants, and other qualitative data-collection techniues, such as participant observation, were not extensively exercised. Moreover, it is difficult to blind the interviewees to the professional status and workplace of the researchers. These factors more or less affected the validity of the interviewed information. Thirdly, the study involved only 4 provinces. Thus generalization ability of the findings is quite limited. Lastly, the calculation in Objective 3 relies on many presumptions. Some postulations used fingures or numbers from previous studies that were conducted long ago, and the analysis was confined to material cost only. Hence, if the findings in this study are to be used for policy advocacy, there should be a process that allows all stakeholders to discuss and agree on the assumptions since the beginning, before delving into the calculation. Besides more updated figures should be used as references and the calculation should include other incurred costs (such as administrative cost and labour cost). | en_EN |
dc.identifier.callno | W160 ว849ก 2560 | |
dc.identifier.contactno | 59-026 | |
dc.subject.keyword | เด็กต่างด้าว | th_TH |
.custom.citation | วีระศักดิ์ พุทธาศรี, Weerasak Putthasri, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, สิรินาฏ นิภาพร, Sirinard Nipaporn, สุพล ลิมวัฒนานนท์, Supon Limwattananon, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, Yaowaluk Wanwong, ประภาพร นพรัตยาภรณ์, Prapaporn Nopparattayaporn, วราภรณ์ ปวงกันทา and Waraporn Poungkantha. "การจัดระบบและคาดการณ์งบประมาณเพื่อชดเชยค่าบริการทางการแพทย์กรณีส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กต่างด้าว." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4799">http://hdl.handle.net/11228/4799</a>. | |
.custom.total_download | 194 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 4 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |