• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความจำเป็นในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์

อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว; อภิชัย วรรธนะพิศิษฐ์; รัตติยา อักษรทอง; Udomsak Saengow; Apichai Wattanapisit; Ruttiya Asksonthong;
วันที่: 2560-07
บทคัดย่อ
หนึ่งในข้อโต้แย้งสำคัญที่มักถูกยกขึ้นมาจากฝ่ายผู้ให้บริการเพื่อคัดค้านการให้การรักษาฟรีภายใต้นโยบาย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ว่า การที่รัฐบาลจัดการรักษาฟรีให้แก่ประชาชนนำไปสู่การเข้ารับบริการที่ไม่จำเป็นหรือเกินความจำเป็น (unnecessary visit) จำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่ดูแลสุขภาพตัวเองและเป็นภาระต่องบประมาณทางสาธารณสุขของประเทศ ขณะที่ในมุมมองของผู้ป่วยหรือประชาชนการมารับการรักษาพยาบาลไม่ใช่กิจกรรมเพื่อความสนุก การมาโรงพยาบาลเป็นเพราะความจำเป็นทางสุขภาพ ความเห็นที่ขัดแย้งกันนี้ยังไม่มีข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์มาพิสูจน์เป็นเพียงความคิดเห็นจากมุมมองของฝ่ายต่างๆ เท่านั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อประมาณการและเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการที่ไม่จำเป็นจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์ รวมถึงศึกษาว่าการเจ็บป่วยในลักษณะใดที่นำมาซึ่งการเข้าถึงบริการที่ไม่จำเป็น ผลของปัจจัยต่างๆ ต่อมุมมองต่อความจำเป็นที่แตกต่างกัน และศึกษาว่าหากมีการนำการร่วมจ่ายซึ่งเป็นข้อเสนอสำคัญเพื่อลดการเข้ารับบริการที่ไม่จำเป็นมาใช้จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการของผู้ป่วยอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่รอบด้าน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณโดยการสำรวจ และเชิงคุณภาพโดยการอภิปรายกลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวนกลุ่มตัวอย่างของการสำรวจเป็นผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,060 ราย และแพทย์ทั้งสิ้น 56 ราย จาก 6 โรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ผู้ป่วยจะถูกสัมภาษณ์โดยพนักงานเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ารับบริการทางการแพทย์และข้อมูลการเจ็บป่วยในครั้งที่ถูกสัมภาษณ์ และการประเมินความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาพยาบาลครั้งที่ถูกสัมภาษณ์ แพทย์ที่ตรวจผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจะได้รับแบบสอบถามแบบกรอกเอง แบบสอบถามของแพทย์ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพมีจำนวน 29 ราย จาก 4 โรงพยาบาล (โรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง) ซึ่งถูกเชิญมาเข้ากลุ่มเพื่ออภิปรายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้ป่วยบางรายที่ไม่สะดวกเข้าร่วมอภิปรายกลุ่ม จะถูกเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2376.pdf
ขนาด: 6.491Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 875
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2471]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV