บทคัดย่อ
เบอโคลเดอเรีย สูโดมาลีอายคือเชื้อสาเหตุของโรคเมลิออยโดสีส เซฟตาซิดิมเป็นยาที่ถูกเลือกใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อนี้ แต่อัตราการตายก็พบสูงในพื้นที่ระบาดของโรค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสวนหาประสิทธิผลของยาปฏิชีวนะในหลอดทดลองด้วยการทดสอบความไวของยาต้านจุลชีพต่อเชื้อเบอโคลเดอเรีย สูโดมาลีอายจากทั้งหมด 1,340 สิ่งส่งตรวจที่ถูกแยกออกมาจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ และโรงพยาบาลอำนาจเจริญ ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เชื้อเบอโคลเดอเรีย สูโดมาลีอายถูกนำมาทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพด้วยวิธีให้แผ่นยาที่มียาต้านจุลชีพที่ทราบปริมาณแน่นอนซึมลงไปในอาหารและทดสอบหาความเข้มข้นของยาที่ต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ เซฟตาซิดิม อิมิพีเนม ไตรเมโทพริม+ซัลฟาเมทอกซาโซล และซิโปรฟลอกซาซิน ถูกใช้เป็นยาต้านจุลชีพสำหรับวิธีให้แผ่นยาที่มียาต้านจุลชีพที่ทราบปริมาณแน่นอนซึมลงไปในอาหาร และการทดสอบหาความเข้มข้นยาต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ถูกทดสอบในเซฟตาซิดิม อิมิพีเนม และไตรเมโทพริม+ซัลฟาเมทอกซาโซล แบคทีเรียถูกสุ่มวิเคราะห์โดยวิธีพีซีอาร์และตามด้วยการทำเจลอิเล็กโตรฟอเรซีสสำหรับวิเคราะห์หายีน penA และ ยีน oxa ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ายาต้านจุลชีพมีประสิทธิผลต่อต้านเชื้อเบอโคลเดอเรีย สูโดมาลีอายด้วยวิธีให้แผ่นยาที่มียาต้านจุลชีพที่ทราบปริมาณแน่นอนซึมลงไปในอาหาร ไตรเมโทพริม+ซัลฟาเมทอกซาโซลมีประสิทธิผลร้อยละ 100 เซฟตาซิดิมและอิมิพีเนมมีประสิทธิผลร้อยละ 98.36 และ 99.10 ตามลำดับ ความเข้มข้นของเซฟตาซิดิมที่ต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้คือ 0.25 ถึงมากกว่าหรือเท่ากับ 32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และอิมิพีเนมเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.5 ถึง 16 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ด้วยวิธีนี้พบว่ามีเชื้อเบอโคลเดอเรีย สูโดมาลีอายดื้อต่อเซฟตาซิดิมร้อยละ 1.27 และดื้อต่ออิมิพีเนมร้อยละ 0.37 ทุกสิ่งส่งตรวจที่สุ่มตรวจพบยีน oxa แต่ไม่พบยีน penA สรุปได้ว่ายาต้านจุลชีพอย่างน้อย 3 ชนิดที่ทดสอบในหลอดทดลองในการศึกษาครั้งนี้มีประสิทธิผลในการรักษาโรคเมลิออยโดสีสได้ โดยเซฟตาซิดิมและอิมิพีเนมคือยาฆ่าทำลายเชื้อที่ควรเลือกใช้ ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเบอโคลเดอเรีย สูโดมาลีอายคือไตรเมโทพริม+ซัลฟาเมทอกซาโซล ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าการทดสอบเหล่านี้จะเป็นเพียงการทดสอบในหลอดทดลองก็ตาม การตัดสินใจให้ยาเหล่านี้แก่ผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสีสอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก
บทคัดย่อ
Burkholderia pseudomallei is a causative agent of melioidosis. Ceftazidime is a drug of choice
for treatment of this infection but the mortality rate is high in some endemic areas. This study investigates
the effectiveness of antibiotics by an in vitro antimicrobial susceptibility test. A total of
1,340 B. pseudomallei samples were isolated from patients admitted to Sappasitthiprasong Hospital,
Sisaket Hospital, and Amnatcharoen Hospital between January 2013 and February 2015. Antimicrobial
susceptibility of B. pseudomallei were evaluated by the standard disk diffusion test and to determine
minimum inhibitory concentration (MIC). Ceftazidime, imipenem, trimethoprim+sulfamethoxazole,
and ciprofloxacin were used as antimicrobial agents for the standard disk diffusion test, and MIC was
determined for ceftazidime, imipenem, and trimethoprim+sulfamethoxazole. Bacteria strains were
randomly selected for conventional polymerase chain reaction (PCR) followed by gel electrophoresis
analysis for penA and oxa gene.
Results demonstrated that all the antimicrobial agents were effective against B. pseudomallei.
Trimethoprim+sulfamethoxazole was 100% effective, and ceftazidime and imipenem were 98.36%
and 99.10% effective respectively. Ceftazidime MIC was 0.25 to ≥32 mg/ml and imipenem MIC was ≤0.5
to 16 mg/ml. It was found that 1.27% of B. pseudomallei was resistant to ceftazidime and 0.37% was
resistant to imipenem. All random samples found oxa gene but not penA gene.
It was concluded that all antimicrobial agents tested effective. Ceftazidime and imipenem were
bactericidal drugs of choice for melioidosis treatment. The bacteriostatic agent for B. pseudomallei
was trimethoprim+sulfamethoxazole. Although, the activity of the antimicrobial agents was effective
in vitro, early diagnostic and prompt clinical treatment to which drugs be administered intravenously
still urgently needed.