บทคัดย่อ
จากการสืบค้นข้อมูลทางวรรณกรรมอย่างเจาะจงในระยะสิบปีที่ผ่านมายังไม่พบงานวิจัยที่เน้นการศึกษาข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อวัณโรคที่เป็นคนต่างด้าวในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทยจากรายงานขององค์การอนามัยโลก, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข, และสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตัวเลขทางสถิติที่รายงานนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความแตกต่างของตัวเลขประมาณการณ์กับสถิติตัวเลขที่บันทึกได้จากการรายงาน ในส่วนของมาตรการการคัดกรองวัณโรคในแรงงานต่างด้าวของกรมแรงงานโดยวิธีการเอ็กซ์เรย์ปอดนั้น สอดคล้องกับแนวทางการตรวจคัดกรองของประเทศตะวันตกส่วนใหญ่และประเทศในเอเชีย เช่น สิงคโปร์และไต้หวัน แต่มีข้อแตกต่างตรงที่การคัดกรองของชาติตะวันตกมักจะทำก่อนการเดินทางเข้าประเทศ ณ ประเทศต้นทางหรือที่จุดผ่านแดน ส่วนในประเทศไทยนั้น ให้แรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยก่อนแล้วจึงตรวจคัดกรองในขณะขึ้นทะเบียน ซึ่งอาจมีการสูญหายของแรงงานได้ ส่วนประเทศสิงคโปร์และไต้หวันมีข้อกำหนดในการจำกัดระยะเวลาในการเข้ารับการตรวจคัดกรองภายหลังจากที่เดินทางเข้าสู่ประเทศ นอกจากนี้ ในต่างประเทศยังมีการคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคในระยะแฝงในกลุ่มเสี่ยงและในกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความชุกของวัณโรคสูง อุปสรรคสำคัญในการตรวจติดตามวัณโรคในแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย คือ การที่แรงงานมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่และเปลี่ยนนายจ้างบ่อยครั้งทำให้ยากต่อการติดตามเพื่อการตรวจคัดกรองและการรักษา และเป็นอุปสรรคต่อความพยายามของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ๆ ออกตรวจคัดกรองและติดตามวัณโรค จากการสืบค้นและทบทวนข้อมูลบ่งชี้ถึงโอกาสในการพัฒนางานด้านการจัดการวัณโรคในแรงงานต่างด้าว โดยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการจัดเก็บข้อมูลของแรงงานต่างด้าวให้ครอบคลุมด้านทั้งจำนวนและการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาวะของแรงงาน
บทคัดย่อ
The scoping review found no published research in the past decade that was focused on tuberculosis
surveillance in migrant labors in Thailand. The review data comparing the number of tuberculosis
patients in Thailand from three sources: the World Health Organization and two of the Ministry of
Public Health - the Permanent Secretary Office’s Information and Communication Technology Center
and the Department of Disease Control’s Bureau of Tuberculosis; indicated large disparities in terms
of both the number of migrant labors and the number of migrant labor tuberculosis cases in Thailand.
The chest X-ray screening for tuberculosis in migrant labors used by the Department of Employment of Thailand was in accordance with the tuberculosis screening guidelines of most Western and Asian
countries such as Singapore and Taiwan. The difference of tuberculosis screening processes was that
Western nations usually required pre-arrival screening from the country of origin of immigrants. Meanwhile,
migrant labors entered Thailand’s territory before any tuberculosis screening had been done.
The screening was then done after labor registration which might hinder the tuberculosis screening
process in the country. Singapore and Taiwan implemented time limits as to when the tuberculosis
screening would have to take place for migrant workers after arrival. The other countries also
screened to identify latent tuberculosis in vulnerable and high-risk groups. Major barriers of tuberculosis
monitoring in migrant labors in Thailand were the frequent relocating of labors and changes of
employment that made it difficult for the authorities to screen, monitor and treat tuberculosis in this
population as well as impeded the tuberculosis control efforts of public health agencies. The search
and review of information identified opportunities for improving tuberculosis management by enhancing
the efficiency of the tuberculosis surveillance in migrant labors in terms of coverage and quality
of health data.