• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาหลักสูตรการดูแลตนเองของผู้สูงอายุตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โสภนา สุดสมบูรณ์; อัญชลี เหมชะญาติ; ประยงค์ แก่นลา; สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์;
วันที่: 2561-01
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุตามทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเชิงบูรณาการระหว่างทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยพัฒนาหลักสูตรโดยการนำข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุจากผู้สูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบหลักสูตรฉบับร่าง ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เรียน ระยะเวลาเรียน โครงสร้างหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในหลักสูตร และวิธีการประเมินผล จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรฉบับร่าง และปรับปรุงหลักสูตรโดยประมวลผลจากการตรวจสอบ แล้วจึงนำหลักสูตรไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุจำนวน 50 คน และประเมินด้านความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดการกิจกรรมการเรียนในหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบทดสอบสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการแสดงพฤติกรรมการส่งเสริมเพื่อดูแลตนเอง การยอมรับความสามารถในการดูแลตนเอง และสภาพความเป็นจริงในการปัจจุบันในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุตามทฤษฎีดูแลตนเองของเพนเดอร์ อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยคำนึงถึง ด้านเงื่อนไขคุณธรรมสูงสุด และคำนึงถึงด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีน้อยที่สุดการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อดูแลตนเอง พบว่า การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรการดูแลตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.97 3) ผู้สูงอายุที่เรียนด้วยหลักสูตรการดูแลตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้เรียนด้วยหลักสูตรการดูแลตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเมื่อทดสอบความแตกต่างด้วย t-test พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แสดงว่า ผลคะแนนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2380.pdf
ขนาด: 2.329Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 8
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 649
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV