• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของเครื่องมือคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐและเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี

สิริมา มงคลสัมฤทธิ์; คัติยา อีวาโนวิช; สนธยา ทองพันธ์;
วันที่: 2561
บทคัดย่อ
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ความผิดปกติของไต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะมีผลทำให้การทำงานของไตเสื่อมถอยลงจนถึงขั้นเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง แต่มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ป่วยมานานกว่า 10 ปี เพียงร้อยละ 20 ที่ได้รับการประเมินภาวะไมโครแอลบูมินนูเรีย ทาง ADA แนะนำให้มีการติดตามค่าไมโครแอลบูมินนูเรีย ซึ่งวิธีมาตรฐานของการตรวจไมโครแอลบูมินนูเรียจะต้องตรวจจากปัสสาวะทั้งหมด 3 ครั้ง และถ้า positive 2 ใน 3 ครั้ง หมายถึง ไตมีความผิดปกติ แต่ในประเทศไทยผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับการตรวจไมโครแอลบูมินนูเรียเพียงปีละ 1 ครั้ง หากมีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้หลักการสร้างเครื่องมือจากการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดไมโครแอลบูมินนูเรีย จึงมีการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียระบบคะแนนขึ้น แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าสามารถใช้ได้กับสถานบริการระดับปฐมภูมิ ในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผล และประสิทธิภาพของเครื่องมือคัดกรองด้วยระบบคะแนน และพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือคัดกรองด้วยระบบคะแนนความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยใช้รูปแบบการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคัดกรอง (Screening accuracy research) ร่วมกับการวิจัยดำเนินการ (implementation research) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 78 แห่ง และคลินิกเอกชนในพื้นที่จำนวน 8 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 1,211 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีระยะเวลาป่วยเป็นเบาหวานมานานไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 44.5 ระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวานโดยเฉลี่ย 6.86 + 4.99 ปี มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพียงร้อยละ 24.19 ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ มากกว่าร้อยละ 50 มีดัชนีมวลกายอยู่ในกลุ่มอ้วน และร้อยละ 78 เป็นกลุ่มอ้วนลงพุง ยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 6.06 และ 8.13 ตามลำดับ ร้อยละ 18.35 พบว่ามีประวัติเบาหวานในครอบครัว โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 67.22 และไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 51.12 จากการประเมินภาวะไมโครแอลบูมินนูเรียในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการตรวจมาตรฐานวิธี Immunoturbidity ครบ 3 ครั้ง มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 536 ราย พบว่า ร้อยละ 7.09 มีภาวะ Marcroalbuminuria และร้อยละ 22.57 มีภาวะ Microalbuminuria เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่า sensitivity specificity PPV NPV LR(+) LR(-) และ ROC ของแบบคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนน กับการจุ่มแถบปัสสาวะคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรีย พบว่าความสามารถของการจุ่มแถบปัสสาวะคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียดีกว่าการคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนน แต่ค่าใช้จ่ายด้วยวิธีการตรวจไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยการจุ่มแถบปัสสาวะแพงกว่าการคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนนทั้งนี้เครื่องมือคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนนที่พัฒนาขึ้นใหม่ สำหรับใช้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการในระดับปฐมภูมิครั้งนี้ จึงยังไม่มีความสามารถในการคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียได้ ดังนั้นหากมีการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองที่พัฒนาในเชิงนวตกรรมที่สามารถทดแทนวิธีการเดิมและมีราคาที่ถูกลง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถเข้าถึงการรับบริการคัดกรองได้ตามมาตรฐาน ยังเป็นช่องว่างเพื่อการพัฒนาต่อในอนาคต
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2387.pdf
ขนาด: 7.466Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 313
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2471]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV