บทคัดย่อ
บริการผู้ป่วยจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญในการจัดระบบบริการสุขภาพ เพราะทรัพยากรที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกลุ่มโรคร่วมสำหรับบริการผู้ป่วยในจิตเวช อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจ่ายเงินสำหรับบริการผู้ป่วยในจิตเวชต่อไป ระเบียบวิธีศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดชุดข้อมูลและมาตรฐานข้อมูลที่จะใช้ในการจัดกลุ่มโรค 2) เก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล 3) คาดประมาณต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในจิตเวช 4) จัดกลุ่มโรคร่วมจิตเวช คำนวณค่ามาตรฐานและประเมินผลการจัดกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตและโรงพยาบาลทั่วไปที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 18 แห่ง วิเคราะห์ต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในจิตเวช ปีงบประมาณ 2558 ด้วยวิธีมาตรฐานแบบบนลงล่างและต้นทุนรายกิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดกลุ่มโรคร่วมจิตเวชแบบไปข้างหน้า ได้แก่ ข้อมูลคุณลักษณะของผู้ป่วย ข้อมูลรหัสโรคและหัตถการ รวมทั้งข้อมูลระดับความรุนแรงของอาการและความสามารถโดยรวมของผู้ป่วย ใช้เครื่องมือ The Thai version of the Health of the Nation Outcome Scales (Thai-HoNOS) สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ และ The Thai version of the Health of the Nation Outcomes Scales for Child and Adolescent mental health (Thai-HoNOSCA) สำหรับผู้ป่วยเด็ก ในช่วงเดือนเมษายน 2559-30 กันยายน 2559 ได้ข้อมูลผู้ป่วยในรวม 15,417 ราย ผลการศึกษา จัดกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยในจิตเวช ได้ทั้งหมด 39 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มโรคร่วมจิตเวชสำหรับผู้ป่วยในผู้ใหญ่ 34 กลุ่ม สำหรับเด็ก 5 กลุ่ม ผู้ป่วยในผู้ใหญ่จัดอยู่ในกลุ่ม Schizophrenia, Age <= 50, with cognitive problems, with problems from reactive/aggressive/agitated behavior มากที่สุด คือ 2,088 ราย (ร้อยละ 17.1) ผู้ป่วยเด็กอยู่ในกลุ่ม Other Child Psychiatric Conditions มากที่สุด คือ 2,463 ราย (ร้อยละ 83.4) กลุ่มที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อรายสูงที่สุดคือ Mental Health Disease, Ongoing type 200,817 บาท กลุ่มที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่อรายต่ำที่สุดคือ Mental Health Disease, Same-day type 590 บาท จากผลการวิเคราะห์สถิติทดสอบการจัดกลุ่ม พบว่ากลุ่มโรคร่วมจิตเวช ฉบับที่ 3 ลดความแปรปรวนของต้นทุนได้ดี ค่าสถิติการลดความแปรปรวน ลดได้ ร้อยละ 39.9 และเกือบทุกกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันของต้นทุนดีมาก โดยมีกลุ่มโรคเดียวที่สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนมากกว่า 100% อีกทั้งค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (relative weight, RW) ของกลุ่มโรคร่วมจิตเวชที่พัฒนาขึ้น สามารถทำนายขนาดการใช้ทรัพยากรได้ดีกว่า RW ของกลุ่มโรควินิจฉัยโรคร่วมฉบับที่ 5 ซึ่งใช้ในการจ่ายเงินสำหรับบริการผู้ป่วยในจิตเวชในปัจจุบัน สรุปว่า ข้อมูลกลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยในจิตเวชที่พัฒนาขึ้นนั้น ให้ความสำคัญกับความเหมาะสมทางคลินิก และความเหมาะสมทางค่าสถิติ เพราะการจัดกลุ่มกลุ่มโรคร่วมที่สร้างขึ้นมีความสามารถในการจัดให้ผู้ป่วยที่มีความคล้ายคลึงทั้งทางคลินิกและการใช้ทรัพยากรอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ข้อเสนอแนะ การใช้กลุ่มโรคร่วมจิตเวชในการจ่ายเงิน กองทุนต่างๆ ควรวางระบบให้มีความพร้อม เพื่อให้สามารถรองรับข้อมูลลักษณะอาการทางจิตซึ่งต้องเก็บเพิ่มจากปกติ ตลอดจนพิจารณาเพิ่มวงเงินงบประมาณสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยในด้วยบริการจิตเวชที่ต้องการวันนอนโรงพยาบาลที่มากพอในการบำบัดรักษาทางจิต
บทคัดย่อ
Mental health service is an important health service system with increasing resource consumption due to social and economic changes. The objective of this study was to develop Thai Mental Health Casemix Classification (TMHCC) for inpatient payment method. This research and development employed 4 steps to develop TMHCC: 1) standard data identification, 2) data collection and edit, 3) cost calculation 4) classification, calibration and evaluation. Eighteen hospitals with inpatient beds for psychiatric care and 2015 top-down cost accounting data joined the study organized by the Department of Mental Health. Data for TMHCC development included administrative data, clinical data, resource uses and mental problems. The Thai version of the Health of the Nation Outcome Scales (HoNOS) and the Health of the Nation Outcomes Scales for Child and Adolescent mental health (Thai-HoNOSCA) were used for adult and children psychiatric assessment. Prospective data collection was conducted in the second half of fiscal year 2016. The total inpatient data for classification were 15,417 cases. The statistics to explain performance of the TMHCC were coefficient of variation (CV) for homogeneity of cases within each group and the reduction in variance (RIV) for overall performance of the casemix classification. Results: TMHCC classification provided 39 disease groups (34 for adult and 5 for children). The highest number of adult cases was for Schizophrenia, Age <= 50, with cognitive problems, with problems from reactive/aggressive/ agitated behavior (2,088 cases, 17.1% of all cases). About 83.4% of children patients were grouped into Other Child Psychiatric Conditions (2,463 cases). Mental Health Disease, Ongoing type had the highest cost per admission (200,817 Baht) and Mental Health Disease, Same-day type had the lowest cost per admission (590 Baht). The result of CV on cost showed that only one group had CV higher than 100%. Most TMHCCs had high homogeneities within groups. The results also confirmed good overall performance of TMHCC that RIV on cost after the classification was as high as 39.9%. Moreover, RW of TMHCC better predicted cost than RW of the current Thai DRG version 5. In summary, the performance of this casemix is good enough based on homogeneity within groups and high heterogeneity of resource uses between groups. Recommendations: The payment based on TMHCC was an option for payment. However, payers should prepare budget for psychiatric inpatient care benefit package that needed longer stay service in hospital than acute inpatient. Moreover, mental health measurement data should be put into addition¬al routine electronic databases of all hospitals that provided care to psychiatric inpatients.