บทคัดย่อ
โครงการวิจัย เป็นการพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้คัดกรองการได้ยินในเด็กปฐมวัย ที่มุ่งเน้นให้สามารถคัดกรองได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีราคาประหยัด โดยใช้เทคนิคการคัดกรองการได้ยินโดยการชี้ภาพที่สอดคล้องจากการฟังเสียงพูดภาษาไทย พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นบนแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด (Audiometer version 1) นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายรองในการทดลองออกแบบและประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาฟังก์ชันการตรวจการได้ยินเพิ่มเติม (Audiometer version 2) คือ การตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ และระบบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขการได้ยินทางไกล (tele-consult) ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่หลากหลายตามเงื่อนไขของทรัพยากร เช่น บุคลากรหรืองบประมาณที่มีในพื้นที่นั้นๆ แก่ผู้ต้องการนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้ในระบบบริการในไทย ผลการวิจัยได้พัฒนาชุดคำศัพท์จำนวน 4 ชุดๆละ 6 คำ ทำงานร่วมกับอัลกอริทึ่มลำดับขั้นในการแสดงภาพดังกล่าวและเสียงพูดในระดับความดังต่างๆ เพื่อการคัดกรอง เมื่อทดสอบแอพพลิเคชัน Audiometer version 1 กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่าระบบมีความไว 100% และความจำเพาะ 79.44% สามารถแยกเด็กหูดีออกจากเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินมากกว่า 25 เดซิเบลได้ โดยใช้เวลาน้อยกว่า 2 นาที เทียบกับ 12 นาทีจากการตรวจโดยใช้อุปกรณ์มาตรฐาน ในส่วนการพัฒนาฟังก์ชั่นตรวจการได้ยินเสริม ใน Audiometer version 2 พบว่าสามารถสร้างฟังก์ชั่นตรวจการได้ยินได้จริง แต่ยังมีความคลาดเคลื่อนในเรื่องความแม่นยำ โดยการตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ (pure tone measurement) ผ่านอากาศ สามารถตั้งค่าความดังของเสียงได้ใกล้เคียงของเครื่องตรวจการได้ยินไฟฟ้าแบบมาตรฐาน เสียงที่ได้ยินผ่านอากาศยังมีความเบากว่าเสียงจากเครื่องตรวจการได้ยินไฟฟ้าแบบมาตรฐานเล็กน้อย แต่สามารถพัฒนาต่อยอดให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้นได้ ส่วนการตรวจการได้ยินเสียงผ่านกระดูก พบปัญหาเรื่องการปรับเทียบเสียง เนื่องจากขาดอุปกรณ์ที่เป็นตัววัดเสียงมาตรฐานจากกระดูก ทำให้เสียงจากเครื่องวิจัยมีความดังมากกว่าเครื่องตรวจการได้ยินไฟฟ้า แบบมาตรฐาน ผลตรวจการได้ยินเสียงผ่านกระดูกจึงน้อยกว่า อย่างไรก็ตามที่ความถี่ 1000, 2000, 3000 Hz. ผลตรวจการได้ยินที่วัดได้มีความแตกต่างกันน้อยกว่า 5 dB น่าจะพัฒนาการปรับจูนเสียงที่ความถี่อื่นๆ ต่อไปได้
บทคัดย่อ
The main objective of this project was to develop a cost effective, tablet-based hearing screening system that can perform a rapid minimal speech recognition level test. An android-based screening application was developed. The screening protocol involved asking the child to pick pictures corresponding to the set of predefined words heard at different sound levels offered in a specifically designed sequence. For screening purposes, the developed screening system was 100% sensitive (95% CI = 83.18% to 100%) for children with speech reception threshold (SRT) or pure tone average threshold > 25 dBHL, with a specificity 0f 79.44% (95% CI = 70.83% to 86.01%). The time taken for screening of each child was less than 2 minutes on average, compared to 12 minutes required in normal procedure. Also, to explore other options that could suit a variety of resource settings, the secondary objective was to implement and evaluate standard pure tone audiometric measurement and tele-audiometry functions on the tablet-based system. It was found that, with additional hardware to increase the dynamic range, function-wise both could successfully be realized. However, due to calibration difficulties especially for the bone-conduction audiometry, accuracies were found to be less than those measured with standard audiometric equipment. Still, the results were encouraging enough to warrant further research and development on this.