dc.contributor.author | ณิภัทรา หริตวร | th_TH |
dc.contributor.author | ชนินตร์นันทร์ สุขเกษม | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-05-11T04:59:49Z | |
dc.date.available | 2018-05-11T04:59:49Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.other | hs2408 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4886 | |
dc.description.abstract | สถานการณ์สาธารณสุขชายแดนเป็นสถานการณ์ที่ซับซ้อนเนื่องจากมีความแตกต่างทางบริบททางสังคมวัฒนธรรม ภูมิประเทศ การเมืองและเศรษฐกิจ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศ เมียนมาร์ กัมพูชา ลาวและมาเลเซีย การมีพรมแดนติดกับประเทศต่างๆ ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างประเทศทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ ผ่านการจ้างงานของแรงงานต่างด้าวและในเรื่องระบบบริการสาธารณสุข ที่เรียกว่า สาธารณสุขชายแดน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้าน ข้ามชายแดนเพื่อมารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขไทยและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสถานการณ์สาธารณสุขชายแดน บริเวณ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชบุรีที่มีพรมแดนติดกับประเทศลาว จังหวัดสระแก้วที่มีพรมแดนติดกับประเทศกัมพูชา จังหวัดตากที่มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมาร์ โดยใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อยและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มบุคคลากรสาธารณสุขในพื้นที่และกลุ่มหน่วยงานเอ็นจีโอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข กลุ่มผู้ป่วยที่ข้ามพรมแดนเพื่อมารับการรักษาที่ประเทศไทย ผลจากการวิจัยพบว่าปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อระบบสาธารณสุขชายแดน ได้แก่ ปัจจัยทางด้านภูมิประเทศ ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยด้านรับบริการสุขภาพ ปัจจัยความเชื่อส่วนบุคคลและสภาพสังคมวัฒนธรรมบริเวณชายแดน และปัจจัยทางด้านเครือข่ายหน่วยงานเอ็นจีโอที่ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อผู้ป่วยชายแดนของสองประเทศ งานสาธารณสุขชายแดนมีมิติที่ซับซ้อนและยากในการบริหารจัดการควบคุมโรคเนื่องจากในแต่ละพื้นที่มีบริบทต่างกัน ดังนั้นรูปแบบการทำงานของแต่ละพื้นที่จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์การเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ระหว่างเอ็นจีโอและเจ้าหน้าที่ชุมชนในพื้นที่ซึ่งเป็นบุคคลที่ทำงานในพื้นที่ร่วมกันพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยจะทำให้งานสาธารณสุขชายแดนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ต่างด้าว | th_TH |
dc.subject | ประชากร--เอเซีย--การย้ายถิ่น | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | คนต่างด้าว--สุขภาพและอนามัย | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | สุขภาพชายแดน: การข้ามพรมแดนเพื่อมารับบริการสุขภาพในประเทศไทยของผู้ป่วยจากประเทศเมียนมาร์ ลาวและกัมพูชา | th_TH |
dc.title.alternative | Borderless Health: Crossing the Borders for Health Care in Thailand among Burmese, Laotian, and Cambodian | en_EN |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Border health care is a complex situation, and is becoming even more so due to the differences of socio-cultural, political-economy, and geographical context. Notably, Thailand is the heart of Southeast Asia and bordered by Myanmar, Cambodia, Laos, and Malaysia. The movement of people has been thus far featured across the border seeking the health care in Thailand which is referred to as, ‘border health’. Each year, the number of people from neighboring countries across border to receive health care in Thailand has been increasing. This study aims to explore border health care situation in 3 provinces – Ubon Ratchatani
(Thai-Lao border); Sakew (Thai-Cambodia border); Tak (Thai-Myanmar border) using qualitative research methods – in-depth interview, participant observation, and focus group discussion. The participants are divided into three groups: policy makers, health professions and NGOs, and patients who crossing borders seeking health care in Thailand. This study shows that social determinants – geography, politics, health service, belief, culture, networking and social supports. Moreover, due to the politics of neighboring countries, the Thai health services in border areas must adopt different approaches of health surveillance system. The public-private partnership between the government and NGOs enhances the effectiveness of border heath care system. | th_TH |
dc.identifier.callno | HB886 ณ318ส 2561 | |
dc.identifier.contactno | 59-045 | |
dc.subject.keyword | สุขภาพชายแดน | th_TH |
.custom.citation | ณิภัทรา หริตวร and ชนินตร์นันทร์ สุขเกษม. "สุขภาพชายแดน: การข้ามพรมแดนเพื่อมารับบริการสุขภาพในประเทศไทยของผู้ป่วยจากประเทศเมียนมาร์ ลาวและกัมพูชา." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4886">http://hdl.handle.net/11228/4886</a>. | |
.custom.total_download | 413 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 58 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |