บทคัดย่อ
สุขภาพของคนต่างด้าวนับเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในเชิงนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน อัตราการเกิดของเด็กต่างด้าวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการจัดบริการการให้วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กต่างด้าวในประเทศไทยในปัจจุบัน จากมุมมองของผู้ให้บริการ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้รับบริการ 2) ศึกษาสถานการณ์การเข้าถึงวัคซีนขั้นพื้นฐานของเด็กต่างด้าวในประเทศไทย และ 3) คาดการณ์ภาระงบประมาณของภาครัฐ ในการให้วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กต่างด้าวทั้งหมดในประเทศไทย ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมคู่ขนาน การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ โดยใช้กรณีศึกษาจากสถานพยาบาลของรัฐใน 4 จังหวัดที่มีคนต่างด้าวหนาแน่น ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันแม้ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนจากส่วนกลางในเรื่องการให้บริการวัคซีนพื้นฐานแก่เด็กต่างด้าวที่ไม่มีประกันสุขภาพ แต่ในพื้นที่ก็มีการให้บริการวัคซีนพื้นฐานแก่เด็กต่างด้าวทั้งที่มีและไม่มีสิทธิประกันสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว โดยอาศัยวัคซีนส่วนที่เหลือจากการจัดสรรสำหรับเด็กไทย ในส่วนผู้รับบริการ ก็ให้ความสำคัญกับการรับวัคซีนและไม่ได้คิดว่าการซื้อบัตรจะเป็นเหตุผลของการได้สิทธิรับวัคซีน ทั้งนี้เด็กต่างด้าวส่วนหนึ่งมักกลับไปประเทศต้นทางเมื่อเริ่มโตขึ้น อัตราการรับบริการวัคซีน พื้นฐานค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หากจะมีการลงทุนโดยภาครัฐเพื่อการให้วัคซีนสำหรับเด็กต่างด้าวเพิ่มเติมจากวัคซีนที่ซื้ออยู่แล้วสำหรับเด็กไทย ภาครัฐพึงลงทุนประมาณ 6.9 ถึง 73.9 ล้านบาท ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญจากการศึกษานี้ คือ รัฐไทยควรพิจารณากำหนดให้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กทุกคนพึงได้รับ ไม่ว่าจะได้รับการประกันตนหรือไม่ โดยปราศจากอุปสรรคทางการเงิน เงื่อนไขทางสัญชาติและสถานะการประกันตน ซึ่งอาจใช้งบประมาณเพิ่มเติมตามที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้พึงมีระบบสนับสนุนให้กับหน่วยบริการอย่างเพียงพอเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระบบสุขภาพและสภาวะการเงินการคลังของประเทศ
บทคัดย่อ
Migrant health is an important issue that has caught much political attention for years, particularly at the present where migrant birth rate is rapidly increasing. The objectives of this study are to 1) explore the operational system of the provision of essential vaccines for migrant children in Thailand through views of policy makers and health professionals, 2) analyze the extent to which migrant children have accessed to vaccination services in Thailand, and 3) estimate the budget impact in the provision of essential vaccines to all migrant children in Thailand. Parallel mixed methods design was employed. Data collection techniques comprised in-depth interviews for qualitative part and secondary data analysis for quantitative part. Study sites were public hospitals in four migrant-populated provinces. The results showed that although there was no explicit policy to provide basic vaccination for uninsured migrant children in Thailand but practically, health providers at the hospitals catered vaccination services free of charge for all migrant children regardless of their insured status through the leftover vaccines which were initially provided to Thai children. From migrants’ perspectives, buying health insurance is not the most important reason that influenced migrant parents to pay for health insurance for their children. Some migrant children travelled back to their country of origin when they grew up. The vaccination utilization rates amongst migrant children were quite low relative to standard utilization rate. If the government wished to provide basic vaccinations specifically for migrant children, the additional budget impact would be around 6.9-73.9 million Baht. In terms of policy recommendations, the Thai government should consider imposing essential vaccination as basic rights for all children regardless of their insured status, and such a service should be independent from nationality precondition and financial barriers. The government might consider investing more on vaccination at the cost suggested above. However adequate supporting mechanisms for the health facilities should be in place in order to ensure the country’s health system and financing sustainability.