บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (caregiver) และกระบวนการในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน หลังการมีนโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยคัดเลือกผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง 20 ราย ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนมากกว่า 1 ปี เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง พร้อมการบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและกระบวนการทำงานในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดหลังมีนโยบาย คือ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุมีองค์ความรู้และทักษะต่างๆ ในการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น จากการฝึกอบรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยดูแลผู้สูงอายุตามกิจวัตรประจำวัน การแก้ปัญหาสุขภาพ การดูแลเรื่องสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมที่บ้านของผู้สูงอายุ มีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น โดยมีระบบพี่เลี้ยงและบัดดี้ มีรูปแบบในการทำงานที่ชัดเจนขึ้น เห็นได้ชัดจากการทำงานตามแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล (care plans) ที่มีแผนการทำงาน มีรายละเอียดของผู้สูงอายุที่ให้การดูแล รวมทั้งเป้าหมายในการช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูผู้สูงอายุให้สามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้มากขึ้นตามความเหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละราย ภายใต้การให้คำปรึกษาดูแลของผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (care managers) และการทำงานร่วมทีมสหวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการการรับบริการของผู้สูงอายุแต่ละรายผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น ในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยเฉพาะโรคเฉพาะทางที่ต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเพื่อการธำรงรักษาให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระบบอย่างยั่งยืน จึงควรมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ อบรมพัฒนาศักยภาพของผู้ช่วยเหลือฯ อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมศักยภาพของผู้ช่วยเหลือฯ ในการช่วยงานการจัดบริการเชิงรุกของทีมสหวิชาชีพ ส่งเสริมบุคคลในครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีความพร้อมให้สามารถช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเฉพาะและพิจารณาค่าตอบแทน รวมทั้งสวัสดิการต่างๆ ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ
The objective of this study was to examine role and process of care by caregivers to dependent older people in communities after the long term care (LTC) policy of the Universal Coverage Scheme was developed. This study used a purposive sampling method to select 20 caregivers who have looked after dependent older persons in communities for longer than one year. Research tools such as general information questionnaires, semi-structured interviews and voice recorders were used to collect qualitative data. The data were analyzed by content analysis. The findings illustrated that after LTC project was implemented, caregiver role and process of care to dependent elderly in communities have evidently changed. Obviously, the knowledge and practice skills of the caregivers, especially on activity of daily living (ADL) care, health issues, sanitation and environment management in the elderly’s home, have gained considerably through training. Team works, coaching and mentoring, and care buddy matching were explicitly formed, including a clear pattern of work namely a care plan. Details of elderly persons who need care, care goal planning or rehabilitation program and relevant information have been included in the care plan. Interestingly, ADL levels of dependent older persons under the guidance of care managers and multidisciplinary have been gradually improved or there was an appropriate aspect for each individual need. Caregivers have increasing important roles particularly being care assistants to dependent older people who have diseases required specific care. In order to be able to appropriately and sustainably providing care to dependent older people in the community, policies and measures to promote the advancement opportunities of caregivers and the continuous training for development of potential caregivers should be encouraged. Stimulating the proactive services enhancement of caregivers working together with multidisciplinary teams, motivating family members having the potential to provide care to elderly people having specific disease, and finally, the compensation and welfare policy should be appropriately promoted.