บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการกระจายตัวของผู้ป่วยโรคระบาดในพื้นที่ศึกษาด้วยวิธีการ dasymetric ที่มีการใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากที่ดินเข้ามาประกอบการพิจารณาด้วย และทำการเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์การกระจายตัวแบบทั่วไป เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง 2 กระบวนการ โดยใช้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคระบาดแต่ละฤดูกาล 3 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2559 จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ศึกษา 5 ตำบลของอำเภอเมืองพิษณุโลก ได้แก่ พลายชุมพล บ้านคลอง จอมทอง บ้านกร่างและวัดจันทร์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีลักษณะทางพื้นที่และบริบทการให้บริการทางการแพทย์แตกต่างกัน การวิเคราะห์การกระจายตัวของผู้ป่วยใช้วิธีทำแผนที่ dasymetric จำแนกการใช้ประโยชน์จากที่ดิน 4 ประเภทเป็นเงื่อนไข ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม ป่าไม้และแหล่งน้ำ ผลลัพธ์ที่ได้เปรียบเทียบกับการกระจายตัวของผู้ป่วยแบบทั่วไปพบว่า การประมาณการจำนวนประชากรด้วยวิธี dasymetric มีการกระจายตัวของผู้ป่วยในพื้นที่ที่อยู่อาศัยเฉลี่ย 25.75 คนต่อประชากร 1,000 คน และการกระจายตัวของผู้ป่วยในพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยเฉลี่ย 24.92 คนต่อประชากร 1,000 คน โดยพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของผู้ป่วยสูงที่สุด คือ บริเวณที่อยู่อาศัยของตำบลจอมทอง จากการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์การกระจายตัวทั้ง 2 วิธีการ ด้วยวิธีการทดสอบสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน (coefficient of variation, CV) พบว่าวิธีการวิเคราะห์การกระจายตัวของผู้ป่วยทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ วิธีการ dasymetric ให้ค่าความหนาแน่นของผู้ป่วยเฉลี่ยน้อยกว่าวิธีการ areal interpolation และมีค่าจำนวนและความแตกต่างของข้อมูลที่มากกว่าในฤดูกาลเดียวกัน
บทคัดย่อ
This particular research aimed to analyze spatial distribution of infectious disease patients using dasymetric method comparing with areal interpolation technique. This study used infectious disease patient statistical data between 2014 and 2016 provided by subdistrict health promoting hospital (HPH) located in Phlaichumphon, Banklong, Chomthong, Bankrang, and Watchan subdistricts. Land use was classified into 4 categories including residential, agricultural land, forest, and water resource. Furthermore, spatial infectious cases data was utilized together with classified land use data in order to investigate the infectious disease distribution using dasymetric method and areal interpolation method. The results showed that the rate of infectious patients in residential area was 25.75 per 1,000 inhabitants and the rate of non-residential area was 24.92 per 1,000 inhabitants. The highest rate of infectious disease was found in the residential area of Chomtong district. Moreover, the comparison of coefficient of variation (CV) between dasymetric and areal interpolation techniques showed significant difference. The dasymetric method had significantly lower average rate of infectious disease than the areal interpolation.