บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาแรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินที่มีการดำเนินการและปรากฏว่ามีผลต่อการคงอยู่ในสถานบริการสุขภาพภาครัฐของแพทย์ในพื้นที่ศึกษา รวมถึงรูปแบบการบริหารจัดการแรงจูงใจดังกล่าว การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method) ที่ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ข้อมูลการเคลื่อนย้ายของแพทย์ 10 ปีที่ผ่านมา ในช่วงวันที่ 1 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558 จากการศึกษา โครงการศึกษาค่าแรงบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดเลือกพื้นที่ เพื่อทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยศึกษาถึง แรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในสถานบริการสุขภาพภาครัฐของแพทย์ ตามนิยามของ Guidelines: Incentives for Health Professionals ซึ่งจัดทำโดย Global Health Workforce Alliance (GHWA) ผลการศึกษา พบว่า แรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินตามนิยามข้างต้น มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ของแพทย์ใน ชนบทอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติและความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความแตกต่างกันในระหว่างกลุ่มแพทย์ที่มีอายุการทำงานน้อยกว่า 3 ปี และกลุ่มแพทย์ที่มีอายุการทำงานมากกว่า 3 ปี ทั้งนี้เนื่องจากมุมมองของแพทย์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การที่กลุ่มแพทย์ที่มีอายุการทำงานน้อยกว่า 3 ปี มีแนวโน้มที่จะต้องศึกษาต่อแรงจูงใจที่ไม่ใช่เงิน จึงมักจะเป็นปัจจัยเรื่องการทำงานซึ่งเป็นปัจจัยระยะสั้น ในขณะที่แพทย์ที่มีอายุการทำงานมากกว่า 3 ปี เน้นปัจจัยในการดำรงชีวิต อย่างไรก็ดี จากการศึกษาจะพบว่า แรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินเหล่านี้ สามารถบริหารจัดการให้เกิดขึ้นในโรงพยาบาลต่างๆ ได้และเป็นความจำเป็นของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการผลักดันให้มีการพัฒนาระบบแรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินนี้ในโรงพยาบาลของรัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนต่อไป
บทคัดย่อ
The objectives of this study were to prove the effect of non-financial incentive, by the definition in Guidelines: Incentives for Health Professionals of Global Health Workforce Alliance (GHWA), to retain the physician in rural area and how to manage this kind of incentive. The study used the retention data of the physicians in 8 provinces hospitals since 2006 to 2015 , from the previous study ”The study of the labour cost of health workforce in MOPH hospital”, to predict the study area that can retain the physician in rural area. The questionnaire was developed to ask all physicians in the study area about the effect of nonfinancial incentive and the intention to work in the same hospital next year. The results showed that all categorized of non-financial incentive have a significant effect to the retention of the physicians at 95%CI. These effects were difference between the first 3 years working physicians and the physicians that have more than 3 years working experience. This study found that the hospitals can promote the non-financial incentive in the hospital working environments, so the Ministry of Public Health should to have the policy to promote these non-financial incentives.