บทคัดย่อ
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้ให้ความสำคัญที่จะพัฒนาแนวทางการจัดการและปรับปรุงระบบหลักประกันและบริการทางสุขภาพให้แก่แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย โดยอาศัยองค์ความรู้และข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐานสู่การพัฒนาตามแผนงานวิจัยกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยสวรส. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการวิจัยเชิงสังเคราะห์ เรื่องทัศนคติต่อแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ตามมิติด้านสาธารณสุข ด้านเศรษฐกิจ และด้านความมั่นคงของประเทศ โดยมี รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์งานวิจัยและนโยบายหรือกฎระเบียบของภาครัฐเกี่ยวกับทัศนคติของคนไทย ที่มีต่อแรงงานข้ามชาติเมียนมา ลาวและกัมพูชา ในมิติด้านสาธารณสุข ด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคงของประเทศและเพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของทัศนคติของคนไทยต่อนโยบายในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสังเคราะห์ (Research Synthesis) ที่ผสมผสานการศึกษาวิจัยเอกสาร การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการสนทนากลุ่มย่อย ผลการศึกษาโดยสรุปชี้ให้เห็นว่า ทัศนคติของคนไทยต่อแรงงานข้ามชาติมีความหลากหลาย ทั้งด้านดีและไม่ดี เป็นพลวัตรกันในมิติต่างๆ ตามบริบทของคนไทย เช่น คนไทยทั่วไป แรงงานไทย นายจ้างไทย เจ้าหน้าที่และบุคลากรไทยฯลฯ ในช่วงเวลาของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น สำหรับการกำหนดนโยบายบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติเกิดขึ้นภายใต้แบบแผนทางความคิดที่ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ จึงทำให้ผู้กำหนดนโยบายออกนโยบาย กฎหมาย ระเบียบการและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับคนข้ามชาติและแรงงานข้ามชาติอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ แบบแผนทางความคิดที่ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงของประเทศยังมีอิทธิพลครอบคลุมไปในมิติทางเศรษฐกิจและมิติทางสาธารณสุข ด้วยคนไทยมีความรู้สึกนึกคิด โดยมีเหตุผลประกอบและส่งผลต่อการแสดงท่าทีต่อแรงงานข้ามชาติที่แตกต่างหลากหลาย ในมิติด้านสาธารณสุข ในมิติด้านเศรษฐกิจ ในมิติด้านความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นปัจจัยกำหนดสำคัญที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการแสดงออกของคนไทยต่อแรงงานข้ามชาติให้เป็นไปในรูปแบบที่เหมาะสม ได้แก่ การสื่อสารสาธารณะ เพื่อทำความเข้าใจบริบทในมิติต่างๆ ทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสาธารณสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันของคนทุกคน ประเด็นดังกล่าวนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ เพราะจะนำไปสู่การรับรู้สถานการณ์ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายและการแสดงท่าทีที่เหมาะสมซึ่งกันและกันของคนไทยและแรงงานข้ามชาติ นอกจากนี้ การสร้างเวทีของการมีส่วนร่วมระหว่างคนไทยกับแรงงานข้ามชาติให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน จะสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญในการรับรู้และเข้าใจวีถีชีวิตของแรงงานข้ามชาตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ มุมมองความคิดและท่าทีที่คนไทยจะแสดงออกต่อแรงงานข้ามชาติได้ดีขึ้น
บทคัดย่อ
Health Systems Research Institute (HSRI) is committed to develop a guideline for the management and improvement of healthcare system for migrant workers in Thailand, by relying on knowledge and empirical data as a basis for development. The Thailand Development Research Institute (TDRI) has received research grants from HSRI to conduct research on the attitude of Thais towards migrant workers in public health, economic and security aspects of Thailand, with Dr. Yongyuth Chalermwong being the head of this project. This research aims to study and synthesize the government policies and regulations on the attitudes of Thais (and government) toward migrant workers in dimensions of public health, economic and national security. Also, to study a linkage of Thai (and government) attitudes towards management policies related to migrant worker. The study concludes that the Thais attitude towards migrant workers are diverse, both positive and negative, depending on which group of Thais, such as locals, Thai workers, Thai officers, Thai employers, and so on, and their interaction. The policy for managing migrants was established under the concept of maintaining national security which regulates policies for migrants very strictly. In addition, the concept of maintaining the country’s security is influenced by economic and public health dimensions. The feeling of Thais expressed through their actions towards migrant workers varies in different dimensions. In terms of public health, In the economic dimension, on the national security aspect. This study also pointed out the important determinant of attitudes of Thai people towards migrant workers in appropriate forms of communication. To create a contextual understanding of each dimension, it involves the coexistence of Thais and migrants. This issue is important to all parties because it will lead to situational awareness. This will be very useful for policy making. In addition, by creating a platform for Thais and migrant workers to participate together, it will create a major turning point in the perception and understanding of migrants' lives, leading to a change of attitude, and a better view from Thais toward migrant workers.