บทคัดย่อ
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรม องค์ประกอบและผลลัพธ์ของการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยจิตเวช 4 กลุ่ม ได้แก่ จิตเภท อารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ซึมเศร้าและวิตกกังวลเปรียบเทียบกับการจ่ายยาปกติ โดยใช้วิธีการสืบค้นอย่างเป็นระบบด้วย Mesh term และคำค้นที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Medline, IPA, PsycINFO, Cochrane, Thai Index Medicus และ HITAP โดยเลือกการศึกษาที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 จนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2561 มีการประเมินคุณภาพของการศึกษาทดลองแบบสุ่ม (randomized controlled trials: RCT) ด้วย risk of bias และไม่ได้สุ่ม (non-RCT) ด้วย risk of bias in non-randomized studies-of interventions (ROBINS–I) assessment tool ผลการศึกษาจากทั้ง 26 ฉบับใน 3 ที่ตั้งตามบริบทของงานเภสัชกรรม ได้แก่ สถานพยาบาลปฐมภูมิ ร้านขายยาในชุมชนและโรงพยาบาล พบว่า การบริบาลเภสัชกรรมโดยภาพรวมไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับผลลัพธ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านคลินิกและด้านมนุษยธรรม แต่การบริบาลเภสัชกรรมในโรงพยาบาลมีแนวโน้มทำให้ความร่วมมือในการใช้ยาดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการจ่ายยาปกติ อย่างไรก็ตาม พบว่ากิจกรรมการบริบาลเภสัชกรรม (ซึ่งประกอบด้วยการค้นหาปัญหา การแก้ไขปัญหาและการติดตามป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา) เพียงฝ่ายเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการเกิดผลลัพธ์ที่ดีในผู้ป่วยจิตเวช ยังจำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพภายใต้แนวคิดของจิตเวชศาสตร์แบบองค์รวม โดยมีเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาทางชีวภาพ จิตใจและสังคมของผู้ป่วยไปพร้อมๆ กัน
บทคัดย่อ
The objective of this systematic review was to evaluate the pharmacist activities, components and effectiveness of a pharmaceutical care intervention, compared with medical treatment in patients who had been diagnosed as schizophrenia, bipolar disorder, major depressive disorder or anxiety disorder. Mesh term and relevant keywords were employed in searching of data from databases including Medline, IPA, PsycINFO, Cochrane, Thai Index Medicus, and HITAP databases. Both national and international literature published during January 2001 to February 2018 was included in this systematic review. The quality of the randomized control trial (RCT) and non-randomized control trial (non-RCT) were assessed by the risk of bias and risk of bias in non-randomized studies-of interventions (ROBINS–I) assessment tool, respectively. Twenty-six studies that met the inclusion criteria were conducted in three settings including primary care unit, drugstore, and hospital. The present study found that the pharmaceutical care intervention did not affect the economic, clinical, and humanistic outcome, however it possibly improved better adherence than that medical treatment in a hospital setting. However, using only 3 components of pharmaceutical care interventions (assessing drug problems, modifying medications and monitoring efficacy, and preventing adverse effect) does not have a positive impact on psychiatric patients. The psychiatric patients need to be cared by the multi-disciplinary approach to achieve holistic health on individual covering physical, psychological, social and psycho-spiritual dimensions.