• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความแม่นยำและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร

วีรชาติ ศรีจันทร์; Weerachat Srichan; พัชรี มั่นคง; Phatchari Mankong; ชาลีลักษม์ ทองประเสริฐ; Chaleelak Thongprasert; ทิพวัลย์ พงษ์เจริญ; Tippawan Pongcharoen; อมรพันธ์ อัจจิมาพร; Amornpan Ajjimaporn; สืบพงษ์ กอวชิรพันธ์; Sueppong Gowachirapant;
วันที่: 2562-03
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบความแม่นยำและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามกิจกรรมทางกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร (physical activity questionnaire for pregnant and lactating women, PAQ-PL) โดยพัฒนาแบบสอบถามจากแบบประเมินกิจกรรมทางกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ทดสอบเบื้องต้นโดยการสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตรและผู้ให้บริการ ทดสอบความแม่นยำ (N=212) โดยให้ทำซ้ำ 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน และทดสอบความเที่ยงตรงโดยดูความสัมพันธ์กับอุปกรณ์บันทึกการเคลื่อนไหว (accelerometer) (N=86) ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี PAQ-PL ที่พัฒนาขึ้นมีรูปแบบเป็นตารางและมีรายการกิจกรรม 21 ข้อ ที่สอดคล้องกับบริบทของหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรไทย ความแม่นยำอยู่ในเกณฑ์ดีในการประเมินเวลา (นาที/วัน) ที่ใช้ทำกิจกรรมทางกายโดยรวม กิจกรรมใช้แรงปานกลางถึงหนัก (≥3.0 metabolic equivalents, METs) และกิจกรรมใช้แรงน้อยถึงเบา (<3.0 METs) [intraclass correlation coefficient, ICC = 0.79, 0.84 และ 0.77 ตามลำดับ (p-value <0.05)] ความเที่ยงตรงในการประเมินเวลาที่ใช้ทำกิจกรรมทางกายที่ใช้แรงระดับปานกลางถึงหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ [Spearman’s correlation, rs = 0.21–0.37 (p-value <0.05)] โดยสรุป PAQ-PL ที่พัฒนาขึ้นมีความแม่นยำปานกลางถึงดีและมีความเที่ยงตรงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะการประเมินกิจกรรมทางกายที่ใช้แรงในระดับปานกลางถึงหนัก จึงสามารถนำไปใช้ประเมินกิจกรรมทางกายในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรในระบบบริการสาธารณสุขได้

บทคัดย่อ
This study aimed to develop the physical activity questionnaire for pregnant and lactating women (PAQ-PL) and to assess its reliability and validity. The PAQ-PL was developed based on the modification of the previous physical activity questionnaires for pregnant women from Thailand and other countries. The developed PAQ-PL was initially tested to determine the feasibility and acceptability for health care service by interviewing pregnant and lactating women as well as health care service providers. The reliability was assessed by administering the PAQ-PL twice within a 7-day interval (N=212) and the validity was assessed based on the correlation between the PAQ-PL and the accelerometer (N=86) in pregnant and lactating women who visited the Health Promotion Hospital, Health Promotion Center Region 5, Ratchaburi Province. The developed PAQ-PL was in the table format and consisted of 21 items of physical activities (PA) that were appropriate for Thai pregnant and lactating women context. It had good reliability on the time spent (minutes/day) for total PA, moderate-to-vigorous PA (≥3.0 metabolic equivalents, METs), and sedentary- to-light PA (<3.0 METs) [intraclass correlation coefficient, ICC = 0.79, 0.84, and 0.77, respectively (p-value <0.05)]. Its validity was acceptable when used for assessing the time spent on vigorous-to-moderate PA [Spearman’s correlation, rs = 0.21–0.37 (p-value <0.05)]. In summary, the developed PAQ-PL had moderate to good reliability and acceptable validity, especially when considering the assessment of moderate-to-vigorous PA. Hence, it may be feasible to use the PAQ-PL to assess the PA of pregnant and lactating women in the public health service system.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v13n ...
ขนาด: 992.3Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 304
ปีพุทธศักราชนี้: 182
รวมทั้งหมด: 3,140
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV