แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สมรรถนะและบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย

dc.contributor.authorธีระ วรธนารัตน์th_TH
dc.contributor.authorTeera Woratanaraten_EN
dc.contributor.authorภัทรวัณย์ วรธนารัตน์th_TH
dc.contributor.authorPatarawan Woratanaraten_EN
dc.contributor.authorอารียา จิรธนานุวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorAreeya Jirathananuwaten_EN
dc.contributor.authorจารุภา เลขทิพย์th_TH
dc.contributor.authorCharupa Lektipen_EN
dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ ต้องตาth_TH
dc.contributor.authorSaowalak Tongtaen_EN
dc.date.accessioned2019-04-22T09:02:25Z
dc.date.available2019-04-22T09:02:25Z
dc.date.issued2562-03
dc.identifier.otherhs2486
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5047
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อใช้ในการวางแผนผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและเพื่อวางแผนขับเคลื่อนนโยบายทีมหมอครอบครัวให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและสถานการณ์ในพื้นที่ โดยทำการทบทวนสถานการณ์ โครงสร้างและกระบวนการดำเนินงาน ประเมินทัศนคติและความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักต่อแนวทางการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและการขับเคลื่อนนโยบายทีมหมอครอบครัว รวมถึงสมรรถนะและบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในพื้นที่ โดยครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มผู้บริหารและคณาจารย์ในสถาบันฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในทีมหมอครอบครัว จากเขตบริการสุขภาพ 13 เขตทั่วประเทศ และนำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนและสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 213 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 50.7 ค่ามัธยฐานของอายุอยู่ที่ 38.0 ปี (พิสัย 24-84 ปี) พบว่าในด้านของสมรรถนะของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของทีมหมอครอบครัวในแต่ละพื้นที่นั้น ได้รับการประเมินจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มตรงกันว่า ในปัจจุบันยังไม่ถึงระดับที่คาดหวัง โดยพิจารณาจากเกณฑ์ที่พึงประสงค์ของราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยทั้ง 6 ด้าน ในขณะที่การดำเนินนโยบายทีมหมอครอบครัวนั้น ยังมีอุปสรรคจากตัวนโยบายที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อย ไม่ชัดเจน หรือไม่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ รายละเอียดที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับภาระงาน บทบาทหน้าที่ ความจำเป็นของการกำหนดสเป็คเวชศาสตร์ครอบครัว ขาดมาตรการจูงใจบุคลากร ปัญหาเรื่องความเข้าใจและการยอมรับ ทั้งในบุคลากรสาธารณสุขและประชาชน ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน การประสานงานระหว่างกัน ตลอดจนการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และปัญหาในระบบการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ตั้งแต่รูปแบบการผลิตที่หลากหลาย คุณสมบัติของผู้ที่เข้ามาฝึกอบรม กระบวนการและมาตรฐานการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน ความพร้อมของคณาจารย์ สถานที่ฝึกอบรมและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) กระทรวงสาธารณสุขควรมอบหมายให้แต่ละพื้นที่เสนอแผนการดำเนินงานและตัวชี้วัดผลงานที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้การดำเนินนโยบายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าปัจจุบัน 2) กระทรวงสาธารณสุขควรปรับสาระนโยบายคลินิกหมอครอบครัว ให้แพทย์ทุกสาขาสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทั้งแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทาง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว 3) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและราชวิทยาลัยอื่นๆ ร่วมกันพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ทฤษฎีแลประสบการณ์ด้านเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อให้แพทย์และบุคลากรสาขาสุขภาพอื่น ได้สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง 4) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย ควรยุติรูปแบบการฝึกอบรมที่หลากหลายมาตรฐานและหันมาพัฒนาหลักสูตรเวชศาสตร์ครอบครัวให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและเป็นที่ต้องการของสังคม เช่น การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น หรือบูรณาการหลักสูตรกับสาขาอื่นที่มีอยู่ เช่น เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เป็นต้น 5) กระทรวงสาธารณสุขควรพัฒนาระบบเครือข่ายแพทย์เฉพาะทางเพื่อช่วยดูแลและให้คำปรึกษาทีมหมอครอบครัวในพื้นที่ โดยถือเป็นบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน (Shared care and responsibility)th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวth_TH
dc.subjectFamily medicineth_TH
dc.subjectเวชศาสตร์ครอบครัวth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectPrimary careth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleสมรรถนะและบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายth_TH
dc.title.alternativePerformance and Roles of Family Physicians: Synthesis of Policy Recommendationsen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground This study aimed to synthesize policy recommendations for future planning in family physician training and effective primary care cluster policy implementation with regards to actual needs and responsive to the situation Methods Situation review and value chain analysis were done in 8 primary care clusters in Central, Eastern, Southern, and Bangkok Metropolitan areas in 2018. A national survey in all 13 health services areas was deployed during the second and the third trimesters of 2018 in order to assess major stakeholders’ perceptions and opinions; including administrators, academics, and family physicians, on national primary care cluster policy implementation as well as the performance and roles of family physician in their settings. The data from primary and secondary sources were analyzed and policy recommendations were synthesized accordingly. Results 213 subjects were participated in the study. 50.7% was female, and median age was 38 years (range 24-84 years). Regarding performance and roles, all groups of the stakeholders indicated that expectable performances of family physicians had not been achieved yet in accordance with 6 performance dimensions of Royal College of Family Physician of Thailand. For primary care cluster policy implementation, there were significant hurdles from frequent changes in policy contents, unclear messages, incongruencies with community situation, rigid specifications, lack of positive retention strategies on healthcare personnel, misunderstanding and acceptance problems among healthcare professionals as well as community, imbalance between demand and supply, lack of policy advocacy at local areas, and problems in family physician training system including trainers, trainees, and related resources. Policy recommendations 1) The Ministry of Public Health should allow those in local areas to propose their own operation plans as well as appropriate and feasible performance indicators. 2) The Ministry of Public Health should modify their policy contents by allowing any physicians to perform as family physician without the necessity to train in family medicine program. 3) The Ministry of Public Health in collaboration with the Royal College of Family Medicine of Thailand and other related Royal Colleges should develop self-directed learning system for the physicians and other health professionals to gain knowledge and experience in family medicine. 4) The Ministry of Public Health in collaboration with the Royal College of Family Medicine of Thailand and other related Royal Colleges should discontinue their diverse approaches in family medicine training, and preserve only a standard training program. Moreover, they should develop specialty training programs that are in needs for the society such as longterm care, elderly care, etc. 5) The Ministry of Public Health should develop networking system in the local areas that can effectively link specialists with family physicians by using “Shared care and responsibility”.en_EN
dc.identifier.callnoWB110 ธ661ส 2562
dc.identifier.contactno61-016
dc.subject.keywordFamily physicianth_TH
.custom.citationธีระ วรธนารัตน์, Teera Woratanarat, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, Patarawan Woratanarat, อารียา จิรธนานุวัฒน์, Areeya Jirathananuwat, จารุภา เลขทิพย์, Charupa Lektip, เสาวลักษณ์ ต้องตา and Saowalak Tongta. "สมรรถนะและบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5047">http://hdl.handle.net/11228/5047</a>.
.custom.total_download196
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year24
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2486.pdf
ขนาด: 1.585Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย