Show simple item record

Cochlear Implants Registry in Thailand (CIRT) Project Phase I

dc.contributor.authorพรเทพ เกษมศิริth_TH
dc.contributor.authorสุรเดช จารุจินดาth_TH
dc.contributor.authorวิราภรณ์ อัจฉริยะเสถียรth_TH
dc.contributor.authorขวัญชนก ยิ้มแต้th_TH
dc.contributor.authorสายสุรีย์ นิวาตวงศ์th_TH
dc.contributor.authorจรินรัตน์ ศิริรัตนพันธ์th_TH
dc.contributor.authorสมชาย ศรีร่มโพธิ์ทองth_TH
dc.contributor.authorจิตรสุดา วัชรสินธุ์th_TH
dc.contributor.authorสมุทร จงวิศาลth_TH
dc.contributor.authorพนิดา ธนาวิรัตนานิจth_TH
dc.contributor.authorมานัส โพธาภรณ์th_TH
dc.contributor.authorสุวัจนา อธิภาสth_TH
dc.contributor.authorภาธร ภิรมย์ไชยth_TH
dc.contributor.authorดาวิน เยาวพลกุลth_TH
dc.contributor.authorกัญญ์ทอง ทองใหญ่th_TH
dc.contributor.authorเสาวรส ภทรภักดิ์th_TH
dc.contributor.authorนภัสถ์ ธนะมัยth_TH
dc.contributor.authorศรัญ ประกายรุ้งทองth_TH
dc.contributor.authorเพิ่มทรัพย์ อิสีประดิฐth_TH
dc.contributor.authorวิชิต ชีวเรืองโรจน์th_TH
dc.contributor.authorศิริพร ลิมป์วิริยะกุลth_TH
dc.contributor.authorภาณินี จารุศรีพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorกฤษณา เลิศสุขประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorกนกรัตน์ สุวรรณสิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorจารึก หาญประเสริฐพงษ์th_TH
dc.contributor.authorศิวะพร เกียรติธนะบำรุงth_TH
dc.contributor.authorตุลกานต์ มักคุ้นth_TH
dc.contributor.authorสุวิชา แก้วศิริth_TH
dc.contributor.authorทศพร อัจฉราเจริญยิ่งth_TH
dc.contributor.authorศณัฐธร เชาวน์ศิลป์th_TH
dc.contributor.authorวันดี ไข่มุกด์th_TH
dc.date.accessioned2019-05-02T08:46:52Z
dc.date.available2019-05-02T08:46:52Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2489
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5051
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยพัฒนาระบบทะเบียนการให้บริการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะในเวลา 5 ปี ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เป็นการสร้างความร่วมมือกำหนดแนวทางมาตรฐานการให้บริการ พัฒนาแบบเก็บข้อมูล ออกแบบและวางระบบทะเบียน เก็บข้อมูลกรณีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเก่าย้อนหลัง 5 ปี จำนวนประมาณ 800 ราย และผู้ป่วยใหม่ปี 2559-60 จำนวนประมาณ 150 ราย แล้วทดลองบันทึกข้อมูลเข้าระบบ วิเคราะห์และออกรายงานประจำปีเบื้องต้น ซึ่งใช้เวลา 18 เดือน ส่วนระยะที่ 2-3 เป็นการปรับปรุงจุดอ่อนของระบบและบันทึกข้อมูลบริการอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการออกรายงานเพื่อการสะท้อนกลับในการพัฒนาระบบบริการ รวมถึงการสร้างความร่วมมือเพื่อความยั่งยืนของระบบ โดยรายงานฉบับนี้เป็นผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ทั้งนี้ การศึกษาวิเคราะห์ทางคลินิกจะเป็นแบบเฝ้าสังเกตการณ์ (Observational clinical study) ทั้งในผู้ป่วยเก่าที่เคยได้รับการผ่าตัดไปแล้วซึ่งจะศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลัง (Retrospective study) และผู้ป่วยใหม่ที่เข้ารับการผ่าตัดจะศึกษาข้อมูลแบบไปข้างหน้า (Prospective study) โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด จากเวชระเบียน พร้อมทั้งมีการสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตเปรียบเทียบก่อนผ่าและหลังผ่าตัดโดยใช้แบบสอบถาม Pedsql, EQ5D, HUI แล้วบันทึกลงระบบทะเบียนที่พัฒนาขึ้น เพื่อการวิเคราะห์และออกรายงานอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยและพัฒนาระยะที่ 1 ในด้านการพัฒนาระบบทะเบียนการให้บริการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม คณะผู้วิจัยจาก 11 หน่วยบริการ ได้ใช้ “ร่างเกณฑ์มาตรฐานการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม” ที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการโรคหู โสตประสาท การทรงตัว และการได้ยิน ภายใต้ราชวิทยาลัยโสต ศอนาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นมาตรฐานเกณฑ์ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่อ้างอิง ซึ่งจะวิเคราะห์ร่วมกับเกณฑ์การให้สิทธิ์เบิกจ่ายของแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพ เมื่อร่วมกับประเด็นและเครื่องมือวัดผลลัพธ์ที่กำหนดจึงได้เป็นแบบฟอร์มเก็บข้อมูล จากนั้นได้พัฒนาระบบทะเบียนฯ ในรูปแบบ web-base โดยวางไว้บนฐานระบบข้อมูลที่ชื่อว่า thaicarecloud (www.thaicarecloud.org) ซึ่งพัฒนาขึ้นภายใต้ ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเก็บข้อมูลการให้บริการ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 สามารถเก็บข้อมูลได้ 216 ราย จาก 11 หน่วยบริการ เป็นคิดเป็นร้อยละ 30 ของเป้าหมายระยะที่ 1 ที่ตั้งไว้จำนวน 725 ราย (รายเก่า 500 ราย และรายใหม่ 225 ราย) แต่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน ที่ใช้ในการวิเคราะห์และออกรายงานเบื้องต้น ได้เพียง 198 ราย ทั้งนี้เป็นผู้ป่วยเก่า 159 ราย และเป็นผู้ป่วยใหม่ 39 ราย ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เบื้องต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจากหน่วยบริการต่างๆ ซึ่งทำให้เห็นแนวโน้มของผลลัพธ์การบริการฯ ในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งยังไม่สามารถสะท้อนภาพรวมงานศึกษาทางคลินิก หรือระบบบริการในระดับประเทศได้ ในขณะที่การจะใช้ฐานทะเบียนการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนี้ มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบบริการที่มุ่งปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานบริการและผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ตอบสนองการเข้าถึงบริการตามความจำเป็นได้อย่างเหมาะสม ยังจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพัฒนาระบบ ตลอดจนความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในระยะต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหูเทียมth_TH
dc.subjectCochlear Implantth_TH
dc.subjectหู--ศัลยกรรมth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleทะเบียนประสาทหูเทียมในประเทศไทย ระยะที่ 1th_TH
dc.title.alternativeCochlear Implants Registry in Thailand (CIRT) Project Phase Ien_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWV168 พ242ท 2561
dc.identifier.contactno59-031
.custom.citationพรเทพ เกษมศิริ, สุรเดช จารุจินดา, วิราภรณ์ อัจฉริยะเสถียร, ขวัญชนก ยิ้มแต้, สายสุรีย์ นิวาตวงศ์, จรินรัตน์ ศิริรัตนพันธ์, สมชาย ศรีร่มโพธิ์ทอง, จิตรสุดา วัชรสินธุ์, สมุทร จงวิศาล, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, มานัส โพธาภรณ์, สุวัจนา อธิภาส, ภาธร ภิรมย์ไชย, ดาวิน เยาวพลกุล, กัญญ์ทอง ทองใหญ่, เสาวรส ภทรภักดิ์, นภัสถ์ ธนะมัย, ศรัญ ประกายรุ้งทอง, เพิ่มทรัพย์ อิสีประดิฐ, วิชิต ชีวเรืองโรจน์, ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล, ภาณินี จารุศรีพันธุ์, กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ, กนกรัตน์ สุวรรณสิทธิ์, จารึก หาญประเสริฐพงษ์, ศิวะพร เกียรติธนะบำรุง, ตุลกานต์ มักคุ้น, สุวิชา แก้วศิริ, ทศพร อัจฉราเจริญยิ่ง, ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์ and วันดี ไข่มุกด์. "ทะเบียนประสาทหูเทียมในประเทศไทย ระยะที่ 1." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5051">http://hdl.handle.net/11228/5051</a>.
.custom.total_download24
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs2489.pdf
Size: 10.61Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record