• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะแบบพกพาเพื่อสนับสนุนการตรวจวัดและให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ปราโมทย์ สิทธิจักร; Pramote Sittijuk; วิไรวรรณ แสนชะนะ; Wiraiwan Sanchana; กันยารัตน์ มาเกตุ; Kanyarat Market; ธีระพงษ์ ธนเดโชพล; Teerapong Thanadechopon;
วันที่: 2562-02
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะแบบพกพาเพื่อสนับสนุนการตรวจวัดและให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบฐานความรู้ ฐานกฎอนุมานความรู้และเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการตัดสินใจและแนะนำความรู้ของตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะแบบพกพา เพื่อออกแบบและพัฒนาตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะแบบพกพาและเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะแบบพกพาเพื่อสนับสนุนการตรวจวัดและให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และถ่ายทอดนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในหน่วยงานสาธารณสุขและชุมชมท้องถิ่นในระดับฐานราก โดยสามารถสรุปวิธีการและสิ่งที่ค้นพบ ดังนี้ 1. การศึกษาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยและแนะนำการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากหนังสือและตำราทางการแพทย์และการรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคเดลไฟล์ พบว่า กรอบขององค์ความรู้ที่ศึกษาและรวบรวมได้ มีรายละเอียดครอบคลุมการดูแลและบำบัดรักษาอาการโรคติดต่อไม่เรื้อรังในผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 6 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็ง โดยรายละเอียดขององค์ความรู้ที่ศึกษาและรวบรวมได้ ประกอบด้วย 1) สาเหตุและอาการโรค 2) สิ่งบ่งบอกโรค ภาวะแทรกซ้อนและโรคที่มีความสัมพันธ์ 3) แนวทางการรักษา การดูแลอาการโรคและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น แผลกดทับ การติดเชื้อและปอดบวม เป็นต้น 4) การใช้งานอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง 5) การดูแลสิ่งแวดล้อมทั่วไป 6) การทำความสะอาดร่างกาย 7) การดูแลการขับถ่าย 8) การจัดท่าทางการนอน 9) วิธีการทำแผล 10) การทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด และ 11) วิธีการบรรเทาอาการโรคและความเจ็บปวด การใช้เทคนิคเดลไฟล์ ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยและแนะนำการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในการตรวจรักษาผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งทำให้มีการทบทวนความถูกต้องและครบถ้วนขององค์ความรู้ จนได้ความรู้ที่สามารถนำไปพัฒนาฐานความรู้ของตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะแบบพกพาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การออกแบบและพัฒนาตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ใช้การประมวลผล Machine Learning ของ AI ด้วย weighted nearest neighbor algorithm การออกแบบฐานความรู้ออนโทโลยีของตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะแบบพกพาเพื่อสนับสนุนการตรวจวัดและให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประกอบด้วยโหนดความรู้ จำนวนทั้งหมด 93 โหนด แบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น โดยความรู้ชั้นที่ 1 มี จำนวน 17 โหนด ความรู้ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 มีจำนวน 32 โหนดเท่ากัน และชั้นที่ 4 มีจำนวน 12 โหนด ฐานกฎเชิงความหมาย (SWRL rules) ในการอนุมานและแนะนำการดูแลรักษาตามอาการโรคและเฉพาะบุคคล เพื่อประมวลผลร่วมกับกลไกการทำงานของ Machine Learning มีจำนวน 15 ฐานกฎ มีความครอบคลุมในการให้คำแนะนำในด้านการตรวจติดตามอาการโรค การแนะนำการดูแลสุขภาพในกลุ่มโรคที่เกิดร่วม การแนะนำโภชนาการ การออกกาลังกายและการทำกายภาพบำบัด 3. การประเมินประสิทธิภาพตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงพบว่า ตัวแทนแพทย์ทางไกลอัจฉริยะแบบพกพา มีค่าความคาดเคลื่อนในการวัดค่าสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียงเทียบกับเครื่องมือทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลมีไว้ใช้งานเพียง 4 หน่วยวัด และใช้ระยะเวลาในการประมวลผลข้อมูล จนกว่าข้อมูลจะส่งเก็บในฐานข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์และแสดงผลบนหน้าจอมอนิเตอร์ เทียบกับเครื่องมือทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลมีไว้ใช้งาน ในการประมวลผลข้อมูล จนกว่าจะแสดงผลบนหน้าจอมอนิเตอร์ เพียง 6.7 วินาที และระบบสามารถสืบค้นและให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยได้ค่า F-measure เท่ากับ 97
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2490.pdf
ขนาด: 8.343Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 292
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV