บทคัดย่อ
โครงการ Peritoneal Dialysis First Policy ได้เข้ามามีบทบาททำให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end-stage renal disease) ได้รับการล้างไต และช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ศึกษาทัศนคติของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้าร่วมโครงการ PD First Policy และข้อมูลการเข้าถึงการปลูกถ่ายอวัยวะของคนไข้กลุ่มดังกล่าวยังไม่เคยมีการศึกษา ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจการล้างไตทางช่องท้องและทัศนคติต่อการปลูกถ่ายไตในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (continuous ambulatory peritoneal dialysis) ที่เข้าร่วมโครงการ PD First Policy ในประเทศไทย ระเบียบวิธีศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามทางโทรศัพท์ ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ PD First Policy ความพึงพอใจการรักษาแบบการล้างไตทางช่องท้อง ความรู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไต รวมถึงทัศนคติต่อการปลูกถ่ายไต โดยได้เก็บข้อมูลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องจำนวน 114 คน ที่เข้าร่วมโครงการ PD First Policy ในจังหวัดจันทบุรีอย่างสุ่ม ช่วงเวลาที่ทำการเก็บข้อมูลคือ เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ผลการศึกษา: อายุโดยเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมในการศึกษา คือ 54.21 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง คือ 3.42 ปี โดยร้อยละ 79.8 ของผู้เข้าร่วมในการศึกษารู้สึกพึงพอใจและ ร้อยละ 4.4 ของผู้เข้าร่วมในการศึกษารู้สึกพึงพอใจมากกับการรักษาแบบล้างไตทางช่องท้อง มีเพียงร้อยละ 2.6 ของผู้เข้าร่วมในการศึกษาที่รู้สึกไม่พึงพอใจในวิธีการรักษาดังกล่าว ร้อยละ 93.0 เห็นด้วยกับโครงการ PD First Policy โดยร้อยละ 65.1 ของผู้ที่เห็นด้วยคิดว่าโครงการนี้สามารถช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้มาก อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 24.6 ของผู้เข้าร่วมในการศึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงการปลูกถ่ายไต แต่ผู้เข้าร่วมในการศึกษามากถึงร้อยละ 73.7 ที่คาดหวังจะได้รับการปลูกถ่ายไต เหตุผลหลักที่ต้องการได้รับการปลูกถ่ายไตคือ ต้องการจะกลับไปทำงานและช่วยเหลือตนเองรวมถึงครอบครัวได้อีกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 88.7 ของผู้ที่คาดหวังจะได้รับการปลูกถ่ายไต สรุปผลการศึกษา: โครงการ PD First Policy ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายไตก็ยังเป็นความหวังสูงสุดของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การวางแผนนโยบายที่จะเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงการปลูกถ่ายไตและการเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการปลูกถ่ายไตจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
บทคัดย่อ
The Thai Peritoneal Dialysis First Policy (PD First Policy) has improved
survival of end-stage renal disease patients since 2008. However, evidence on patients’ attitudes toward
the policy and the accessibility to kidney transplantation (KT) has been lacking. This study aims to assess
PD care satisfaction and KT attitude among continuous ambulatory peritoneal dialysis patients under the
Thai PD First Policy. Methodology: A telephone questionnaire survey asking demographic data, general
opinion on PD First Policy, PD treatment satisfaction, and KT knowledge and attitude was conducted in
April 2018 among 114 randomly selected PD patients from PD centers in Chanthaburi. Results: The mean
age of PD patients was 54.21 years, and their duration of peritoneal dialysis was 3.42 years on average.
Majority of them were satisfied (79.8%) and very satisfied (4.4%) whereas only 2.6% expressed their
dissatisfaction. One hundred and six patients (93.0%) agreed with PD First Policy, of which 65.1% stated
that this policy had saved their expenses. Of the total 114 patients, only 24.6% had KT knowledge but
73.7% would like to undergo KT. The main motivation for KT was the increased chance of returning to
work and contribute to family (88.7%). Conclusions: The Thai PD First Policy has been well received.
The perceived need for KT was high. A good strategic plan to improve knowledge on and access to KT
is required.