• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ทบทวนระบบส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งของศูนย์รังสีวิทยา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลราชบุรี ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ประพัฒน์ สุริยผล; Parpat Suriyaphol;
วันที่: 2563
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาระบบหรือ e-health ซึ่งริเริ่มโดยองค์การอนามัยโลก ที่ต้องการใช้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการให้บริการด้านสุขภาพและเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ครอบคลุมถึงการรับ-ส่งข้อมูลสุขภาพระหว่างหน่วยงานต่างๆ ระบบการส่งต่อโรงพยาบาลราชบุรีและโรงพยาบาลศิริราชมีข้อตกลงความร่วมมือในการกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยรังสีรักษาเพื่อมารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช จากการสัมภาษณ์แพทย์ เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลราชบุรี และภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นภาควิชาที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ส่งต่อมาที่โรงพยาบาลศิริราช รวมถึงการประชุมปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญและศึกษาทบทวนเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยได้ข้อสรุป พร้อมข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้ กระบวนการส่งต่อผู้ป่วยของศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเกิดจากความร่วมมือและทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกันเป็นระยะเวลานานของแพทย์และพยาบาลของทั้งสองหน่วยงาน มีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงาน จนได้กระบวนการปัจจุบันที่สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น และมีการนำเทคโนโลยีที่ใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น การใช้โปรแกรม Line ในการส่งข้อความสื่อสารกัน แต่ยังมีบางประเด็นที่ทีมรักษาคิดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเข้ามาช่วยได้ เช่น เรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานและการติดต่อกับผู้ป่วยและญาติ การลงทะเบียนและการนัดหมายคนไข้ การติดตามข้อมูลผู้ป่วยจากสองหน่วยงาน การส่งข้อมูลภาพรังสี คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเทคโนโลยีประกอบกับรูปแบบการใช้งานปัจจุบันของทีมรักษาและได้นำเสนอแผนการ Implement โดยนำเอามาตรฐาน HL7-FHIR และ DICOMWeb มาใช้เป็นพื้นฐานในการเข้าถึงและส่งต่อข้อมูลและนำเสนอเทคโนโลยี Web application และ Chatbot มาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แผนงานที่นำมาใช้ สามารถปรับและนำประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นๆ และขยายขอบเขตของงานไปนอกเหนือจากการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรังสีรักษาได้ในอนาคต
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2548.pdf
ขนาด: 1.671Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 91
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV