บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประเมินสุขภาวะทางกาย วิเคราะห์ความสัมพันธ์และจัดกลุ่มสมรรถภาพทางกายและหาดัชนีชี้วัดสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุไทยทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองได้ ประกอบด้วยเพศชายและหญิง มีอายุ 60-69 ปี ได้มาจาก 5 ภูมิภาคของไทย ภูมิภาคละ 400 คน รวมทั้งหมด จำนวน 2,000 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ชุดที่ 1 การทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุไทย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์ประกอบของร่างกาย ด้านความทนทานของระบบไหลเวียนเลือดและการหายใจ ด้านความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ด้านความคล่องแคล่วว่องไวและการทรงตัว ด้านความอ่อนตัวและด้านเวลาปฏิกิริยาตอบสนองและการประสานสัมพันธ์ นอกจากนี้มีการบันทึกสัญญาณคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (อีเอ็มจี) ชุดที่ 2 สุขภาวะทางกายของผู้สูงอายุ ได้แก่ ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านโภชนาการ ด้านการนอนหลับและพักผ่อนและด้านปัญหาสุขภาพและโรคไม่ติดต่อ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยจำแนกตามเพศและภูมิภาค การวิเคราะห์การจัดกลุ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุไทย ด้วยสถิติการวิเคราะห์กลุ่ม และดัชนีชี้วัดสมรรถภาพทางกาย ผลการวิจัยปรากฏว่าสามารถจัดกลุ่มสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มดีมาก จำนวน 522 คน (ร้อยละ 26.14) กลุ่มดี จำนวน 770 คน (ร้อยละ 38.56) กลุ่มพอใช้ จำนวน 478 คน (ร้อยละ 23.93) และกลุ่มเสี่ยง จำนวน 227 คน (ร้อยละ 11.37) ผลการวิเคราะห์กลุ่มพบว่า ปัจจัยเส้นรอบเอวสามารถจัดกลุ่มได้ดีที่สุด (F=669.732) รองลงมาคือ VO2 Max จากการทดสอบเดิน 6 นาที น้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดได้ 12 เกณฑ์การประเมิน ประกอบด้วยการย้ายบล็อก 30 วินาที เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง นั่งงอตัวไปข้างหน้า เวลาที่ใช้ TUG ระยะทางที่ได้จากการเดิน 6 นาที เปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง เส้นรอบสะโพกและเส้นรอบเอว ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้สำหรับวางแผนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุไทยได้
บทคัดย่อ
The objective of this research was to test the physical fitness, evaluate physical well-being, analyze relationships and cluster analysis of physical fitness, and investigate indicators for physical fitness in Thai elderly throughout Thailand. The samples were self-help elderly consisting of males and females, aged 60-69 years old. They were recruited from 5 regional parts of Thailand, 400 participants in each region, including a total of 2,000 participants. The research instruments were two set. Set one was the physical fitness testing for Thai elderly in 6 categories including with body composition, cardiorespiratory endurance, muscular strength and endurance, agility and balance, flexibility, and reaction time and coordination. In addition, there were recordings of electromyograms (EMG). Set two was the physical well-being in elderly including with physical activity, nutrition, rest and sleep, and health problem and non-communicable disease (NCD). The analysis of general data were used with distribution of frequencies, percentages, means and standard deviations, classifying by genders and regions. The classifications of physical fitness groups in Thai elderly were used with cluster analysis and physical fitness indicators. The results demonstrated that the physical fitness groups of the elderly were classified into four groups composed of the 522 participants in very good group (26.14%), the 770 participants in good group (38.56%), the 478 participants in fair group (23.93%) and the 227 participants in risk group (11.37%). The cluster results revealed that the waist circumference could be best used to classify (F = 669.732), followed by the VO2 max from the six-minute walk test, body weight and body mass index (BMI) respectively. The results of indicators were 12 assessment criteria including 30-s block transfer test, reaction time, sit and reach test, TUG time, distances in six-minute walk test, body fat percentage, hip circumference, and waist circumference. In conclusion, the physical fitness test of Thai elderly and assessing the physical well-being of most Thai elderly. This information can be used for health promotion planning for Thai elderly.