• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินความชุกพฤติกรรมเสี่ยงและการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มประชากรชาวไทยภูเขา ประเทศไทย

ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul;
วันที่: 2563
บทคัดย่อ
การประเมินความชุกพฤติกรรมเสี่ยงและการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มประชากรชาวไทยภูเขา ประเทศไทย มุ่งศึกษาความชุก พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มประชากรชาวไทยภูเขาที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้น ในระยะที่ 1 และจะดำเนินการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคดังกล่าวและทดลองประสิทธิภาพในระยะที่ 2 โดยดำเนินการวิจัยชนเผ่าละสองหมู่บ้าน โดยหมู่บ้านที่หนึ่งเป็นหมู่บ้านทดลองและหมู่บ้านที่สองเป็นหมู่บ้านควบคุม สามารถสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ จากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า มีสี่ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคเบาหวานในกลุ่มชาวเขาที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป กล่าวคือ สถานภาพสมรส ระดับความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน เส้นรอบเอวและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ส่วนโรคความดันโลหิตสูงนั้นพบว่า มีสองปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรดังกล่าว กล่าวคือ ปริมาณการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารและความเครียด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแยกตามรายชนเผ่าพบว่า มีความแตกต่างกันในปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของแต่ละชนเผ่าที่แตกต่างกัน ส่วนการดำเนินงานในระยะที่ 2 พบว่า การดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบว่า กิจกรรมของแต่ละหมู่บ้านทดลองในแต่ละชนเผ่ามีความแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาทักษะการปรุงอาหารโดยลดการใช้เกลือและเครื่องปรุงอาหารอื่นๆ รวมถึงการลดปริมาณไขมันในการประกอบอาหาร ตลอดทั้งการออกกำลังกายชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงระยะเวลาสามถึงห้าเดือนของการทดลอง พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ตลอดทั้งความตระหนักในปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมที่ทดลองในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องและมีขยายขอบเขตการดำเนินการซึ่งเกิดขึ้นจากประชาชนในหมู่บ้าน นอกจากความรู้ ทัศคติและกิจกรรมที่ดำเนินการต่อเนื่องแล้ว ค่าดัชนีไขมันในเลือดมีแนวโน้มลดลง ทั้งในภาพใหญ่และในกลุ่มที่เป็นโรคอยู่แล้วอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในพื้นที่อื่นๆ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2564.pdf
ขนาด: 9.660Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 17
ปีพุทธศักราชนี้: 11
รวมทั้งหมด: 289
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV