บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเข้าใจของประชาชนต่อการคัดแยกระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยฉุกเฉินของผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลในแง่ความเห็นพ้องกับเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคัดแยกดังกล่าว ระเบียบวิจัย เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มประชาชนทั่วไป วิธีการศึกษา สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในการให้การคัดแยกระดับความฉุกเฉินของภาวะเจ็บป่วยที่เป็นสถานการณ์สมมติ โดยอ้างอิงกับระดับความฉุกเฉินจากเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลของประเทศไทยตามแนวทางที่จัดทำโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ รวมทั้งข้อมูลพื้นฐาน ระดับการศึกษา ประสบการณ์การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นดังกล่าว ใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Cohen’s kappa ในการเปรียบเทียบความเห็นพ้อง และใช้สถิติ logistic regression ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยให้อาสาสมัครผู้เข้าร่วมวิจัยสุ่มเลือกสถานการณ์สมมติ 4 สถานการณ์ จากทั้งหมด 24 สถานการณ์ จากนั้นจึงขอให้แสดงความเห็นในแต่ละสถานการณ์ว่าควรจัดอยู่ในความฉุกเฉินเร่งด่วนระดับใด แล้วจึงนำไปเปรียบเทียบกับคำตอบว่าตรงกันหรือไม่ ผลการศึกษา จากผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั้งหมด 102 คน มีเพศหญิง 64 คน (ร้อยละ 62.7) อายุเฉลี่ย 25 ปี (พิสัยควอไทล์ 21-37) ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 55.9) ประชาชนให้การคัดแยกตรงกับเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลร้อยละ 38.2 (k = 0.175, p < 0.001) ให้ระดับความฉุกเฉินต่ำกว่าเกณฑ์การคัดแยกร้อยละ 42.8 และให้ระดับความฉุกเฉินเกินกว่าเกณฑ์การคัดแยกร้อยละ 18.9 โดยความเห็นของประชาชนที่ตรงกับเกณฑ์การคัดแยกในระดับไม่ฉุกเฉินเป็นร้อยละ 49.5 ฉุกเฉินไม่เร่งด่วนเป็นร้อยละ 40.8 ฉุกเฉินเร่งด่วนเป็นร้อยละ 33.0 และฉุกเฉินวิกฤติเป็นร้อยละ 29.0 ตามลำดับ และไม่พบปัจจัยที่มีผลต่อการคัดแยกได้ตรงตามเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน สรุป ประชาชนทั่วไปมีความเห็นค่อนข้างต่างกับเกณฑ์การคัดแยกภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ให้ระดับความฉุกเฉินที่ต่ำกว่าเกณฑ์ และยังไม่พบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมุมมองของประชาชนในการคัดแยกได้ตรงกับเกณฑ์การคัดแยก
บทคัดย่อ
Objectives: To evaluate people’s understanding on prehospital triage for the level of severity of
emergency illness in terms of interrater agreement compared with the Thai criteria-based dispatch, and
to assess the factors associated with people’s understanding. Study design: A cross-sectional survey of
Chiang Mai people’s perception on responses and management by call takers and dispatchers at the
call center of the emergency medical service. Methods: The survey asked people’s perceived priorities
by randomly selecting 4 out of 24 pre-set emergency scenarios of the Thai criteria-based dispatch triage
cases. The questionnaire also asked respondent’s characteristics, such as, education, previous experience
on emergency medical care, and related perceptional factors. Apart from descriptive statistics, Cohen’s
kappa coefficient to compare the agreement and logistic regression to explore associated factors with
agreement were analyzed. Results: A total of 102 participants responded to the survey, 62.7% were
female, median age was 25 years old (IQR = 21-37). Most of them were bachelor’s degree holders, a
38.2% agreement between people’s perceived priority and the Thai criteria-based dispatch was found
(k = 0.175, p < 0.005), with 42.9% under triage and 18.9% over triage. The percentage of agreement was
higher for non-urgency (49.5%), and semi urgency (40.8%), but lower for urgency (33.0%) and emergency
scenarios (29.0%). No factors associated with the agreement of people’s perceived priority and the prehospital
triage were found. Conclusions: People’s perceived priority did not match with the actual triage
category, and no people’s characteristics associated with prehospital triage agreement were established.